จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 383: - การวัดค่าของความอัจฉริยะ (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 11 กันยายน 2565
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 383: - การวัดค่าของความอัจฉริยะ (1)
ความพยายามในการวัดค่าความอัจฉริยะในตัวคนเรา เริ่มขึ้นในช่วงปลายก่อน ค.ศ. 1800 โดย แฟรนซิส กัลตัน (Francis Galton) ซึ่งเป็นชาวอังกฤษที่เป็นทั้งนักสถิติ, นักสังคมศาสตร์, นักมนุษยศาสตร์, นักจิตวิทยา, นักสำรวจเขตร้อน (Tropical explore), นักภูมิศาสตร์ (Geographer), นักประดิษฐ์, และนักอุตุนิยมวิทยา (Meteorologist), นักพันธุศาสตร์ต้นแบบ (Proto-geneticist), และนักวัดผลเชิงจิตวิทยา (Psycho-metrician)
รับรู้ว่าบุคคลอัจฉริยะมักมีญาติที่เป็นคนอัจฉริยะเหมือนกัน เขาจึงสรุปว่าความอัจฉริยะสามารถถ่ายทอดหรือได้รับผ่านทางพันธุกรรม
เพื่อที่จะเข้าถึงข้อสรุปข้างต้น กัลป์ตันวัดค่าหัวสมองของมนุษย์ และบันทึกความเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าความรู้สึกต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีข้อพิสูจน์ว่าการวัดค่าของกัลป์ตัน ไม่ได้แสดงผลลัพธ์ที่ดีเกี่ยวกับความอัจฉริยะหรือความสำเร็จทางด้านการศึกษา
ต่อมากัลตันได้เปลี่ยนวิธีการและพยายาม เพื่อสร้างความเชื่อมโยงเกี่ยวกับขนาดของศีรษะเด็กนักเรียน ยกตัวอย่างเช่นเขาได้รายงานว่าขนาดศีรษะของนักเรียนที่ได้เกรด 4 ของมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Cambridge) มีขนาดใหญ่กว่า 3.3% เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กนักเรียนที่ได้เกรด 2
อย่างไรก็ตาม ได้มีการทบทวนเกี่ยวกับการศึกษาดังกล่าวอีกครั้ง แล้วพบว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่ขนาดของศีรษะและความอัจฉริยะจะเกี่ยวพันกัน เนื่องจากมีข้อมูลในเชิงปฏิบัติเพียงน้อยนิด ที่สามารถวัดค่าหรือคาดเดาค่าความฉลาดของคนเราได้
ด้วยเหตุผลนี้ ได้มีการยกเลิกการใช้ขนาดของศีรษะ (ขนาดของหัวกะโหลกหรือขนาดของหัวสมอง) เป็นตัวตั้ง เพื่อวัดค่าความฉลาดของคน
ในปัจจุบันการเอ็กซ์เรย์สมองผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Brain Scan; MRI = Magnetic resonance imaging) ทำให้การวัดค่าส่วนสมองมีความแม่นยำและสร้างสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของสมองและความอัจฉริยะ
การศึกษาโดยการเอ็กซ์เรย์สมองผ่าน MRI รายงานว่ามีความสัมพันธ์ของสมองและความอัจฉริยะอยู่ที่ 0.32 และ 0.39 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นเพียงว่า มีควาสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าขนาดสมองที่ใหญ่กว่า เป็นตัวชี้นำค่าความอัจฉริยะที่มากกว่า หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นทางปัญญาจะนำพาไปสู่ขนาดสมองที่ใหญ่ขึ้น
นอกจากนั้นความสัมพันธ์ข้างต้น ยังมีข้อมูลในเชิงปฏิบัติเพียงเล็กน้อย เพื่อยืนยันความเกี่ยวโยงระหว่างขนาดของสมองและความฉลาดของคนเรา
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2022, September 10].
- Francis Galton - https://en.wikipedia.org/wiki/Francis_Galton [2022, September 10].