จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 336: ความทรงจำที่ถูกกดทับ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 26 กันยายน 2564
- Tweet
ความทรงจำที่ถูกกดทับ (Repressed memory) เป็นสิ่งนักบำบัดทางจิตบางคนเชื่อว่าเด็กที่เคยถูกลวนลามทางเพศต้องรับมือกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญและความรู้สึกที่มีตราบาปไปตลอดชีวิต
ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยเข้ามาบำบัดที่มีปัญหาเรื่องเพศหรือปัญหาทางอารมณ์ (Mood disorder) และต่อมาในการบำบัดได้พบความทรงจำที่ถูกกดทับ เช่นเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก
โดยปกติผู้ป่วยดังกล่าวมักมีอาการความจำเสื่อมทั้งหมด (Total amnesia) ของประสบการณ์สะเทือนขวัญซึ่งโดยปกติ การฟื้นฟูความทรงจำดังกล่าวจะเกิดขึ้น (Occur) ในช่วง 12 เดือนแรกของการบำบัด
จากประสบการณ์ของผู้ป่วย นักบำบัดเชื่อว่าความทรงจำที่ถูกกดทับของการถูกล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามนักวิจัยที่โดดเด่น (Prominent) ผู้หนึ่งไม่เห็นด้วย
“แนวคิดที่ว่าผู้รอดจากการถูกล่วงละเมิด มีสาเหตุจากกลไก (Mechanism) ของสิ่งถูกกดทับไว้ – บางอย่างที่มีอิทธิพลมากว่าการกดทับจิตสำนัก (Conscious suppression) – ยังไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific basis)” ดังนั้น การโต้เถียงบนเนื้อหาความทรงจำที่ถูกกดทับยังดำเนินต่อไป ในคริสต์ทศวรรษ 1990s มีรายงานเพิ่มขึ้นของการฟื้นฟูความทรงจำที่แนวการปฏิบัติของผู้บำบัดทางจิตถูกตำหนิ (Blame)
นักบำบัดทางจิตที่รักษาผู้รอดจากการถูกล่วงละเมิดโดยญาติใกล้ชิด (Incest) และเหตุการณ์สะเทือนใจที่เชื่อว่าความทรงจำอดที่ถูกกดทับโดยสมบูรณ์แบบ (Completely blocked) ต้องใช้ความละเอียดอ่อน (Deliberate) และความพยายามเพื่อปลดปล่อยมัน บางครั้งต้องใช้จินตนาการ (Image), การสะกดจิต (Hypnosis), หรือ ซีรั่มพูดความจริงที่ชื่อโซเดียม อมิลทอล (Sodium amytal)
ยกตัวอย่างเช่นกรณีหนึ่ง ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งที่นักบำบัดทางจิตยืนกราน (Insist) ว่าเธอแสดงสัญญานการถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็กและอาจมีความทรงจำที่ไม่ดีฝังในจิตใต้สำนึกของเธอ
แม้ผู้ป่วยจะไม่แน่ใจ (Dubious) ในตอนแรก แต่เธออยากเอาใจนักบำบัดทางจิต สุดท้ายจึงยอมรับว่าเธอเคยถูกข่มขืนตอนอายุ 4 ขวบ อย่างไรก็ตาม หลังจากโรงพยาบาลและได้รับความช่วยเหลือจากนักบำบัดทางจิตใหม่หลายคน เธอสรุปว่าเรื่องโดนล่วงละเมิดทางเพศไม่เคยเกิดขึ้น
ไม่ว่านักบำบัดทางจิตจะหวังดีเพียงใด อลิสซาเบธ ลอฟตัส (Elizabeth Loftus) สงสัยว่า นักบำบัดทางจิตบางคนมีการแนะนำหรือการปลูกฝังความทรงจำที่สะเทือนใจในผู้ป่วยแทนที่จะปลดปล่อยสิ่งที่ถูกกดทับไว้
ข้อเท็จจริงก็คือ ส่วนใหญ่แล้ว ความทรงจำที่ถูกกดทับเกิดจากข้อกล่าวหาของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งมีการรายงานโดยผู้หญิง (87%) ที่เข้ารับการบำบัดด้วยสาเหตุอาการซึมเศร้า (Depression) หรือความผิดปรกติจากการกิน (Eating disorder)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Elizabeth Loftus - https://en.wikipedia.org/wiki/Elizabeth_Loftus[2021, Sep 18].