จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 326: ระบบความทรงจำที่แยกกัน (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-326

      

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้ใช้รายการดังนี้ “หมี (Bear), ยีราฟ (Giraffe), หมาป่า (Wolf), แมลงวัน (Fly), กวาง (Deer), กวางขนาดใหญ่ (Elk), กอริลล่า (Gorilla), ช้าง (Elephant), กบ (Frog), หอยทาก (Snail), เต่า (Turtle), ปลาฉลาม (Shark), มด (Ant), นกฮูก (Owl)”

เพื่อยกตัวอย่างให้เห็นว่า คนเราแสดงประสิทธิภาพในการจำแต่ละส่วนของรายการได้ต่างกัน ในสัปดาห์นี้เราจะมาพูดคุยต่อในส่วนกลาง (Middle) ของรายการซึ่งจะแสดงให้เห็นถึง 2 ประเภทของระบบความทรงจำที่แยกกัน ระหว่างความทรงจำระยะสั้นและระยะยาว

เมื่อผู้เข้ารับการทดลอง (Subjects) พยายามจดจำสิ่งที่อยู่ตรงกลางของรายการ ความสนใจ (Attention) และเวลา (Time) ของพวกเขาจะถูกแยกออก (Split) ระหว่างความพยายามจดจำเบื้องต้น (Primary) และความพยายามจดจำสิ่งใหม่

การมีเวลาทวนซ้ำน้อย หมายความว่า สิ่งที่อยู่ส่วนกลางของรายการจะถูกจัดเก็บในความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) ได้เล็กน้อย ซึ่งสิ่งรบกวน (Interference) ที่มีมาก จะทำให้สิ่งที่คงอยู่ในความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory) มีน้อยลง

ผู้เข้ารับทดลองส่วนใหญ่สามารถระลึกถึง (Recall) ความจำ 4 – 5 สิ่งสุดท้ายที่อยู่ในรายการตัวอย่างได้ (กล่าวคือ เต่า, ปลาฉลาม, มด, และนกฮูก) เพราะการจดจำเหล่านี้ ยังอยู่ในความทรงจำระยะสั้นและสามารถอ่านออกได้ผ่านรายการทางจิต (Mental list) เหตุการณ์นี้เรียกว่า ผลกระทบเมื่อเร็วๆ นี้ (Recency effect)

ผลกระทบดังกล่าว หมายถึงถึงการระลึกถึง หรือพัฒนาในการเก็บรักษา (Retention) ข้อมูลที่พึ่งเกิดตอนสุดท้ายของงาน (Task) ซึ่งเมื่อเรานำมารวมกันระหว่าง 2 สิ่ง (ผลกระทบเบื้องต้น และผลกระทบใหม่) เรียกว่าผลกระทบหัวท้าย (Primary-recency effect) ซึ่งหมายถึงการระลึกถึงหรือพัฒนาในการเก็บรักษาข้อมูลที่เกิดขึ้นตอนแรกและท้ายของงาน

อีกเหตุผลที่คนเราไม่สามารถจดจำ “ช้าง” หรือสิ่งตรงกลางรายการได้ เพราะข้อมูลเหล่านั้นไม่เหลืออยู่ในความทรงจำระยะสั้นและอาจจะไม่ได้มีการเข้ารหัส (Encoded) ไปยังความทรงจำระยะยาว

ตัวอย่างเช่น ผู้เข้ารับการทดลองแสดงให้เห็นว่ามีการระลึกถึงความทรงจำที่ดีกว่าถึง 70% ในส่วนแรกของรายการตัวอย่างที่นำเสนอ อันเป็นผลกระทบเบื้องต้น อันเกิดขึ้นเพราะพวกเขามีเวลาทวนซ้ำ ซึ่งเพิ่มโอกาสของการโอนย้าย (Transfer) สิ่งเหล่านี้ไปยังความทรงจำระยะยาว เพราะการทวนซ้ำมี 2 หน้าที่ กล่าวคือเก็บข้อมูลไว้ในความทรงจำระยะสั้นได้นานขึ้นและผลักดันให้มีการเข้ารหัสโดยการโอนย้ายข้อมูลเข้าความทรงจำระยะยาว

นอกจากนี้ ผู้เข้ารับทดลองแสดงให้เห็นว่ามีการระลึกถึงความทรงจำที่ดีกว่าถึง 60% สำหรับส่วนท้ายของรายการที่นำเสนอ อันเป็นผลกระทบเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งบางครั้งพวกเขาแจ้งว่ายังคงได้ยินและรายงานคำเหล่านี้ออกมาก่อนด้วยซ้ำ ผลกระทบเมื่อเร็วๆ นี้ เกิดขึ้นเพราะสิ่งสุดท้ายของรายการยังอยู่ในความทรงจำระยะสั้นอันทำให้พวกเขาระลึกถึงได้ทันที

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, July 10].