จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 322: การจัดเก็บกลุ่มความทรงจำ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-322

      

วิธีการจัดเก็บความทรงจำเป็นกลุ่มก้อน (Chunking) เป็นตัวอย่างของความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory) ซึ่งมีอีกชื่อนึงที่เรียกว่า ความทรงเพื่อใช้งาน (Working memory) เพื่อบ่งชี้ว่าเป็นกระบวนการที่ใช้งานตลอดเวลา (Active process)

ในการใช้เครื่องสแกนสมอง (Brain scan) นักวิจัย (Researcher) พบว่าความทรงจำระยะสั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมองส่วนหน้า (Front) ของสมอง โดยเฉพาะพื้นที่กลีบหน้าผาก (Pre-frontal area)

มี 3 นัยยะสำคัญเกี่ยวกับความทรงจำระยะสั้น อันได้แก่ การให้ความสนใจในการโอนย้าย (Transfer) ข้อมูลเข้าหน่วยความทรงจำระยะสั้น, การท่องจำ (Rehearsal) จะทำให้ข้อมูลคงอยู่ตรงนั้น, และบางข้อมูลจะถูกโอนย้ายในที่สุด (Eventually) จากความทรงจำระยะสั้นไป ที่จัดเก็บถาวร (Permanent storage)

เริ่มจาก 1. ลองจินตนาการ (Imagine) ว่ากำลังขับรถพร้อมเปิดวิทยุฟัง ในขณะที่เพื่อนนั่งอยู่เบาะฝั่งคนนั่ง (Passenger seat) แล้วกำลังพูดคุยเกี่ยวกับวันหยุดปลายสัปดาห์ ในขณะนี้ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Tremendous) ได้เข้าไปในความทรงจำรู้สึก (Sensory memory) แต่เราหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่มีมากเกินไป (Stimulus overload) เพราะข้อมูลที่เข้ามาจะหายไป(Vanish) ทันที (ไม่กี่วินาที) นอกจากเราจะให้ความสนใจกับมัน

ในขณะที่เราให้ความสนใจกับข้อมูลในความทรงจำรู้สึก ข้อมูลนั้นจะเข้าไปในความทรงจำระยะสั้น เพื่อกระบวนการถัดไป ยกตัวอย่างเช่นในขณะที่เพื่อนเรากำลังคุยกัน เราจะไม่ให้ความสนใจกับวิทยุที่เปิดอยู่จนกว่าเพลงโปรด (Favorite) -v’เราจะเล่นแล้วเข้าไปในความทรงจำรู้สึกของเรา

ในขณะที่เราให้ความสนใจ เราจะได้ยินเสียงวิทยุ แม้ว่ามันจะเล่นอยู่สตลอดเวลาก่อนหน้านี้ หนึ่งในหน้าที่ของความทรงจำระยะสั้นคือ มันทำให้เราสามารถเลือก (Selective) จดจ่อข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Relevant) แล้วไม่สนใจ (Disregard) ข้อมูลรอบข้างที่เราไม่จำเป็นต้องรู้

ต่อมา 2. เมื่อไรที่ข้อมูลเข้าไปในความทรงจำระยะสั้น มันจะอยู่ในนั้นไม่กี่วินาที นอกจากคุณจะมีการฝึกซ้อม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกาศในวิทยุบอกเบอร์โทรศัพท์ เพื่อรับตั๋วหนังฟรี แต่ถ้าเราไม่ทบทวนที่จะท่องจำเบอร์ มันจะหายไปจากความทรงจำระยะสั้นเพราะมีการรบกวน (Interference) จากข้อมูลใหม่ที่เข้ามา

อีกหน้าที่ (Function) หนึ่งของความทรงจำระยะสั้น ก็คือมันสามารถเก็บข้อมูลในระยะเวลาสั้น จนกว่าเราจะเลือกที่จะจัดการกับข้อมูลนั้นอย่างไร ซึ่งถ้าเรามีการท่องจำข้อมูลนั้น จะทำให้มีโอกาสเก็บข้อมูลนั้นไว้ได้นาน

สุดท้าย 3. การท่องจำข้อมูลในความทรงจำระยะสั้น ไม่ได้เพียงทำให้ข้อมูลนั้นอยู่ในความทรงจำระยะสั้นอย่างเดียว แต่ช่วยให้มีการเก็บหรือมีการเข้ารหัสถึงความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) การท่องจำมี 2 ประเภท โดยที่ประเภทหนึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าอีกประเภทหนึ่ง ในการจัดเก็บข้อมูลลงความทรงจำระยะยาว

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, June 12].