จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 321: มุ่งเน้นงานวิจัย: การจัดเก็บกลุ่มความทรงจำ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-321

      

แม้ว่าความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory) สามารถจดจำได้ถัวเฉลี่ย 7 สิ่ง แต่ก็มีความเป็นไปได้ในการเพิ่มทรงความจำให้ยาวนานขึ้น โดยใช้กระบวนการ (Process) ที่เรียกว่าการจัดเก็บกลุ่ม (Chunking)

การจัดเก็บกลุ่มเป็นการรวม (Combine) สิ่งที่แยกกัน (Separate) ของข้อมูลเข้าไปในหน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้น หรือกลุ่มก้อนแล้วจดจำก้อนข้อมูลนั้นแทนที่จะจำแค่ข้อมูลเพียงรายการเดียว

หนึ่งสิ่งที่น่าสนใจกับความมหัศจรรย์ (Prodigious) ในความทรงจำของราจาน (Rajan) เกี่ยวกับตัวเลข ก็คือความสามารถในการจัดเก็บกลุ่มความทรงจำ

ตัวอย่างเช่น ในเวลา 2 นาทีราจานจำได้ 36 ตัวเลขสุ่ม (ในตารางขนาด 6 x 6) ที่เขียนอยู่บนกระดานดำ เขาสามารถพูดซ้ำตัวเลขไปด้านหน้า (Forward) และกลับหลัง (Backward) และยังสามารถบอกตัวเลขตามแถวต่างๆ (แนวตั้ง [Column], แนวนอน [Row], แนวทแยงมุม [Diagonal]) ได้ทีละตัว

เมื่อถามถึงหลักการ (Method) ที่ราจานใช้ในการจำตัวเลข เขาตอบว่า เขาเรียงเลขเป็นกลุ่มก้อนโดยอัตโนมัติ (Automatic) แล้วได้สร้างชื่อเรียกกลุ่มก้อนนั้น

ยกตัวอย่างวิธีกรที่ราจานใช้จำเลข 14 ตัว “11131217351802” เขาจัด “111” เป็นก้อนแล้วตั้งชื่อว่า เนลสัน (Nelson) เพราะเนลสันมี ตา, แขน, ขา ข้างเดียว ราจานจัดกลุ่มก้อน “312” แล้วตั้งชื่อเป็นรหัสพื้นที่ของ ชิคาโก้ (Chicago)

ต่อมาเขารวม “1735” แล้วตั้งชื่อว่า “29” เพราะ เบน แฟรงกิ้น (Ben Frankin) อายุ 29 ตอนปี 1735 และสุดท้ายรวม 1802 เป็นบวก 2 เพราะจอห์น อดัม (John Adam) ครอบครองทำเนียบรัฐบาลในปี 1800 แล้วบวก 2

เมื่อไร ที่ราจานต้องการเรียกความทรงจำตัวเลข เขาทำโดยการจดจำความเชื่อมโยงของ ประโยคที่ว่า “เนลสัน, รหัสพื้นที่ของชิคาโก้, เบนแฟรงกิ้น, และจอห์นอดัม” ซึ่งในขณะที่ราจานอธิบาย เขาไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงสร้างความเชื่อมโยงนี้ขึ้นมา พวกมันเข้ามาในหัวเขาเอง

ในบางครั้งเราใช้การจัดกลุ่มก้อนโดยที่ไม่ได้คิดเกี่ยวกับมัน ยกตัวอย่างการจำเลข 11 หลัก (Digit) ของเบอร์โทรศัพท์ 16228759211 เราได้แยกออก มาเป็น 4 ก้อน 1 – 622 – 875 – 9211

จอร์ช มิลเลอร์ (George Miller) ได้เคยแนะนำว่าการจัดกลุ่มก้อนเป็นเครื่องมีที่มีประสิทธิภาพ (Powerful) ในการใช้จดจำ ซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนข้อมูลที่คนจดจำได้เป็นอย่างดีในความทรงจำระยะสั้น

ความทรงจำระยะสั้นเหมือนการมีหน้าจอ (Screen) คอมพิวเตอร์ทางจิตที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนจำกัด (Limited) แต่ข้อมูลเหล่านี้จะถูกลบ (Erased) หายไปในระยะเวลาสั้น (Brief) และแทนที่ (Replaced) ด้วยข้อมูลใหม่ซึ่งวงจร (Cycle) นี้จะดำเนินต่อไป

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, June 5].