จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 318: การบันทึกความทรงจำที่รู้สึก (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-318

      

หลังจากแสดงภาพ จะมีการถามคนที่เข้ามาทดลอง (Subject) เพื่อให้ระลึกถึงความจำของตัวอักษรในแถวที่เพิ่งแสดงขึ้นมา ซึ่งบทสรุปคือถ้าพวกเขาสามารถตอบสนอง (Response) ได้ทันที (0.0- วินาทีล่าช้า) หลังจากที่เห็นตัวอักษร พวกเขาก็จะจำได้เฉลี่ย 9 ตัวอักษร

อย่างไรก็ตาม ถ้าล่าช้าเพียง 0.5 วินาที ก็จะลดจำนวนความจำเหลือค่าเฉลี่ย 6 ตัวอักษร และถ้าล่าช้า 1 วินาที จะลดจำนวนความจำเหลือค่าเฉลี่ย 4 ตัวอักษร ทำให้สังเกตได้ว่า การเพิ่มความล่าช้าในการตอบสนองส่งผลให้คนทดลองจำตัวอักษรได้น้องลง อันบ่งชี้ระยะเวลาที่สั้นของความจำภาพติดตา กล่าวคือ 1 วินาที หรือน้อยกว่า

การศึกษานี้แสดงให้เห็นความรู้สึกทางการมองเห็น ที่เรียกว่าความจำภาพติดตา (Iconic memory) และความรู้สึกความทรงจำผ่านเสียง เรียกว่าความจำเสียงก้องหู (Echoic memory)

คนเราอาจไม่ได้สังเกตว่า พวกเราอาจเคยมีประสบการณ์ (Experiencing) ความจำเสียงก้องหู อันเป็นรูปแบบของความรู้สึกความทรงจำที่เก็บข้อมูลเสียงประมาณ 1 ถึง 2 วินาที

ในสมองเรา อาทิเช่นเวลาที่เรากำลังดูดรับ (Absorb) ข้อมูล ขณะอ่านนวนิยาย (Novel) เพื่อนตั้งคำถาม แล้วเราหยุดอ่านพร้อมถามกลับว่า “นายพูดว่าอะไรนะ” ทันทีที่ประโยคนี้ออกมาจากปาก เราจะสังเกตว่าเราสามารถระลึกได้ หรือย้อนเวลา (Play back) คำทุกคำที่เพื่อนเราพูดได้

เราสามารถย้อนกลับมาถึงคำพูดพวกนี้ เพราะมันยังอยู่ในความจำก้องหูซึ่งจะอยู่กับเราประมาณ 2 วินาที นอกจากนี้ในการที่เราจะระลึกถึงความทรงจำที่เราคิดว่าเราไม่เคยได้ยิน ความจำเสียงก้องหู ยังสามารถทำให้เราเก็บเสียงบทพูด (Speech) ยาวพอเพื่อรู้ว่าลำดับ (Sequence) เสียงบางเสียง ซึ่งก่อร่าง (Form) ขึ้นมาเป็น คำพูด (Word)

เราจะมาดู 3 รูปแบบของการใช้งาน (Function) ของความจำภาพติดตา และความจำเสียงก้องหู โดยเริ่มจาก 1. พวกมันป้องกันไม่ให้คนมีข้อมูลที่เยอะเกินไป (Overwhelm) โดยสิ่งเร้า (Stimuli) ที่มากเกินไป เพราะข้อมูลทางความรู้สึกที่เราไม่ได้ให้ความสนใจ มันจะหาย (Vanish) ไปในเวลาเพียงวินาที (ข้อมูลที่เข้ามาในความทรงจำที่รู้สึก ถ้าเราไม่ได้สนใจมันข้อมูลนั้นจะถูกลืม)

ต่อมา 2. ความทรงจำที่รู้สึก จะให้เวลาคนเพียงไม่กี่วินาที ในการตัดสินใจว่า ข้อมูลความทรงจำที่รู้สึกเหล่านั้นน่าสนใจหรือมีความสำคัญไหม ซึ่งข้อมูลที่พวกเราสนใจจะถูกส่งต่อไปในหน่วยความจำระยะสั้น (Short-term memory)

สุดท้าย 3. ความจำภาพติดตา ทำให้โลกการมองเห็นของคน ปรากฏความลื่นไหลและความต่อเนื่อง เช่นการมองเห็นแม้ในขณะที่เรากระพริบตา (Blinking)

ความจำเสียงก้องหู ทำให้คนสามารถนึกย้อนถึงข้อมูลเสียงที่ได้ยิน (Auditory) เช่นการได้รับเสียงต่างๆ เพื่อทำให้เรารู้ว่าเสียงเหล่านั้นคือคำ ซึ่งถ้าเราให้ความสนใจกับข้อมูลความทรงจำที่รู้สึกเหล่านั้น ก็จะถูกย้ายไปที่หน่วยความจำระยะสั้น

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, May 15].