จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 316: ประเภทของความทรงจำ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 2 พฤษภาคม 2564
- Tweet
หากคนเรามีส่วนร่วมทางจิตใจในการฮัมเพลงตามเสียงที่ได้ยิน หรือนึกสงสัยว่าเสียงเพลงที่ได้ยินจากนักดนตรีมันคุ้นๆ เป็นโอกาสที่ดี อันบ่งบอกว่ากิจกรรมทางจิตนี้จะมีการย้ายเสียงเพลงที่เราได้ยินจากความทรงจำระยะสั้น (Short - term memory) ไปที่ความทรงจำระยะยาว (Long - term memory)
ความทรงจำระยะยาว หมายถึงกระบวนการ (Process) การจัดเก็บ (Store) ที่ไม่จำกัดจำนวนข้อมูล (Information) ในระยะเวลาที่ยาวนาน ยกตัวอย่างเช่นคุณจัดเก็บเพลงได้เป็นร้อยเพลง, เงื่อนไข (Term), หน้าตา (Face), และบทพูด (Conversation) ในส่วนของข้อมูลความทรงจำระยะยาวซึ่งสามารถดึงเอามาใช้ (Retrieve) ได้อีก
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ คนเรารู้ตัวว่าเราไม่สามารถดึงข้อมูลที่เราเรียนหรือข้อมูลที่เรารู้ว่าเรารู้ ซึ่งในอนาคต เราจะมาอธิบายว่าทำไมเราถึงมีการลืมข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในความทรงจำระยะยาว ตอนนี้ขอเพียงพวกเราเข้าใจถึง 3 ประเภทของความทรงจำ ซึ่งต่อมาเราจะมาพูดคุยถึงการทำงานของพวกมัน
เริ่มจาก 1. เราจะมาอธิบายว่าความทรงจำทั้ง 3 ประเภทนั้นทำงานอย่างไร การที่เราให้ความสนใจหรือไม่ให้ความสนใจกับบางอย่าง กำหนด (Determine) ได้ว่าเราสามารถจำอะไร หรือลืมอะไร ได้อย่างไร
ลองจินตนาการว่ากำลังฟังสิ่งที่ครูสอน (Lecture) ข้อมูลทั้งหมดที่เข้าไปในความทรงจำที่รู้สึก (Sensory memory) ประมาณไม่กี่วินาที หรือน้อยกว่านั้นในสมองเรา
ถ้าเราไม่ได้ให้ความสนใจถึงข้อมูลในความทรงความรู้สึก เราก็จะลืมข้อมูลนั้นในเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ถ้าเราให้ความสนใจข้อมูลบางอย่าง เช่นบางคำที่ครูพูด ข้อมูลนี้จะถูกย้าย (Transfer) ไปในความทรงจำระยะสั้น
ต่อมา 2. ถ้าเราไม่สนใจข้อมูลในความทรงจำระยะสั้น มันจะไม่ถูกเข้ารหัส (Encode) แล้วเราก็จะลืมข้อมูลนั้น เว้นเสียแต่ว่า เราให้ความสนใจโดยการฝึกฝนหรือท่องข้อมูลนั้นซ้ำ (Rehearse)
ยกตัวอย่างเช่นการจดบันทึก จะทำให้ข้อมูลนั้นได้รับการเข้ารหัส เพื่อในการจัดเก็บเข้าไปในความทรงจำระยะยาว เพราะฉนั้นการจดบันทึกเวลาเรียนหนังสือ จึงมีความสำคัญยิ่ง
สุดท้าย 3. เกี่ยวกับความทรงจำระยะยาว ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีการเข้ารหัสในความทรงจำระยะยาว อันจะคงอยู่ในนั้นหรือ พื้นฐานค่อนข้างถาวร (Relatively permanent basis) ไม่ว่าเราจะสามารถหรือไม่ ที่จะฟื้นฟู (Recall) คำสอนที่ครูในห้องเรียน จากความทรงจำระยะยาวนั้น บางส่วนขึ้นอยู่กับว่ามันได้รับการเข้ารหัสอย่างไร
สรุปได้ว่า การจดบันทึกที่แย่ (Poor) จากห้องเรียน ส่งผลให้มีการเข้ารหัสที่ไม่ดี แล้วเราไม่สามารถฟื้นฟูความทรงจำส่วนนั้น เพื่อมาใช้ในเวลาสอบได้ง่าย ซึ่งความลับในการเข้ารหัส หรือฟื้นฟูความทรงจำมาใช้ได้ดี คือการเชื่อมโยง (Associate) ข้อมูลใหม่เข้ากับข้อมูลเก่า
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, May 1].