จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 315: ประเภทของความทรงจำ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-315

      

ปกติคนเรามักพูดเกี่ยวกับความทรงจำ (Memory) ว่ามีเพียงกระบวนการเดียว แต่ความเป็นจริง แบบอย่าง (Model) ของความทรงจำที่หลายคนรู้จัก แบ่งออกเป็น 3 กระบวนการ

ความทรงจำที่รู้สึก (Sensory), ความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory), และความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) เป็น 3 ส่วนของความทรงจำ ซึ่งเราจะมาแสดงให้เห็นดังนี้

ในขณะที่เราเดินในห้างสรรพสินค้าที่วุ่นวายเราถูกกระหน่ำ (Bombard) ด้วยมากกว่า 100 สิ่งที่เราเห็น, ได้กลิ่น, หรือได้ยิน รวมไปถึงเสียงกีต้าร์ จากนักดนตรีที่เล่นเพื่อคั่น (Spare) สิ่งเร้าเหล่านี้ ในการเข้าถึงความทรงจำที่รู้สึก

ความทรงจำที่รู้สึก หมายถึงกระบวนการแรกที่ได้รับและดำรง (Hold) ข้อมูลของสภาพแวดล้อมในรูปแบบดิบ (Raw) เพียงช่วงเวลาสั้น ตั้งแต่ ณ วินาทีนั้น จนไปถึงอีกหลายวินาที

ยกตัวอย่างเช่น ก่อนที่เสียงจะถึงหูเรา เสียงจากนักกีต้าร์ จะดำรงในความทรงจำที่รู้สึกประมาณ 1 หรือ 2 วินาที ซึ่งสิ่งที่เราจะทำต่อไป จะเป็นตัวบ่ง (Determine) บอกว่า จะเกิดอะไรขึ้นจากเสียงนักกีต้าร์ที่อยู่ในความทรงจำที่รู้สึกของเรา

ถ้าเราไม่ให้ความสนใจกับเสียงพวกนี้ความทรงจำที่รู้สึก จะหายไป (Disappear) โดยอัตโนมัติโดยที่ไม่มีร่องรอย (Trace) อะไร อย่างไรก็ตามถ้าเราให้ความสนใจกับดนตรีที่เล่นโดยนักกีต้าร์ ข้อมูลที่ได้ยิน (Auditory information) ในความทรงจำที่รู้สึกจะถูกส่งต่อ (Transfer) ไปเป็นความทรงจำระยะสั้น

เนื่องจากโน้ต (Note) เพลงของนักกีต้าร์รู้สึกน่าสนใจ เราจะเปลี่ยน (Shift) ความสนใจในข้อมูลนั้นโดยเฉพาะซึ่ง จะส่งผลให้มีการย้ายไปยังความทรงจำระยะสั้นโดยอัตโนมัติ

อีกชื่อของความทรงจำระยะสั้นคือความทรงจำการทำงาน (Working memory) ซึ่งหมายถึงกระบวนการอื่นที่สามารถดำรงข้อมูลได้เพียงจำนวนจำกัดโดยเฉลี่ย 7 รายการ (Item) ในเวลาสั้นเพียง 2 – 30 วินาที

เมื่อไรที่ข้อมูลจำกัดถูกย้ายมาอยู่ในความทรงจำระยะสั้น หรือความทรงจำการทำงาน มันจะคงที่ตรงนั้นประมาณ 30 วินาที ถ้าในช่วงเวลานี้ เรามีความเกี่ยวโยงกับข้อมูลนั้น (เช่นฮัม [Hum] เพลงตาม) ข้อมูลนั้นจะถูกจัดเก็บในความทรงจำระยะสั้น ในช่วงเวลาที่ยาวขึ้น [กว่าปรกติ]

อย่างไรก็ตาม เสียงเพลงในหัวจะหายไปในเวลาสั้น นอกเสียจากว่า มันจะถูกย้ายเข้าไปในพื้นที่จัดเก็บที่ถาวร (Permanent) เรียกว่าความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) ถ้าเรามีใจไปผูกพัน (Engaged) เช่นการฮัมเพลงตาม หรือสงสัยว่าทำไมดนตรีของนักกีต้าถึงฟังคุ้นๆ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, April 24]