จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 312: พ่อแม่ควรตบตีลูกไหม (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 4 เมษายน 2564
- Tweet
ทุกวันนี้ ประมาณ 64% ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน เห็นด้วย (Approve) กับการตบตีลูก (Spank) การที่พ่อแม่จะลงโทษลูกของตนด้วยการตบตีนั้นเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่ (Controversy) ในการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้
ทัศนคติ (Attitude) ในการตบตีลูก ได้รับผลกระทบ (Influence) จากการที่ตัวเราหรือพี่น้อง ถูกจัดระเบียบวินัย (Discipline) โดยพ่อแม่อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น พวกท่านใช้การตบตีมากน้อยแค่ไหนและมีผลข้างเคียงทางลบอย่างไร
ถ้าเราไม่ยอมรับในการลงโทษโดยการตบตี การวิจัยดังกล่าวก็จะยืนยันความเชื่อของพวกเรา แต่ถ้าเรายอมรับในการลงโทษด้วยการตบตี เราอาจจะลองคิดใหม่ว่าการตบตีส่งผลดีหรือเสียแก่ตัวเรากันแน่
การวิจัยนี้ใช้วิธีการสำรวจ (Survey approach) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพในการรวบรวมข้อมูลจากคนกลุ่มใหญ่ แต่ก็อาจจะมีบางคนที่มีความทรงจำผิด, หลงลืม, หรือให้คำตอบที่พวกเขาคิดว่าคนสัมภาษณ์ต้องการได้ยิน ปัญหาของการวิจัยนี้คือการเลือกตัวอย่างไม่มากของแม่ในกลุ่ม (อายุ 14 – 21 ปี) และไม่รวมเด็กอายุน้อย (ต่ำกว่า 6 ปี)
นพ. เดน ทรัมบูล (Den Trumbull) ซึ่งเป็นกุมารแพทย์ (Pediatrician) เชื่อว่าการตบตีไม่มีอันตราย (Harmful) ต่อเด็กเล็ก (ระหว่าง 18 เดือน ถึง 6 ปี) อันเป็นกลุ่มอายุเด็กที่ นักสังคมวิทยา (Sociologist) เมอร์เรย์ สตรอส (Murray Straus) ไม่ได้ศึกษาวิจัย
ต่อมา นักจิตวิทยา (Psychologist) ดร. โรเบิร์ต ลาเซลเลอร์ (Robert Larzelere) เชื่อว่าพ่อแม่ตบตีลูกอย่างไร (ทำเพื่อแสดงความรัก หรือเพื่อเป็นแผนสำรองเพื่อขอเวลานอก [Time-out]) เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าถ้าพวกเขาตบตีลูก
การตบตีเป็นตัวอย่างของบทลงโทษทางบวก (Positive punishment) กล่าวคือ สร้างแรงกระตุ้นในเชิงลบ (Aversive stimulus) ผ่านความเจ็บปวด (Pain) การขอเวลานอก เป็นตัวอย่างของการลงโทษในทางลบ กล่าวคือ การเอาสิ่งเสริมแรง (Reinforcer) ออก เช่น การไม่ให้ความสนใจ, ปราศจากของเล่น, หรือห้ามชมโทรทัศน์
มันเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ (Impossible) ที่จะไม่มีปฏิกิริยาทางอารมณ์ (Emotional reaction) เมื่อมีการพูดคุยเกี่ยวกับการตบตีลูก
ดร. ลาเซลเลอร์ เชื่อว่า ถ้าการตบตีลูกเป็นหนทางสุดท้าย (Last resort) เขาจะยอมรับได้ แต่ก็ยังรู้สึกว่าการตบตีลูก ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าความรู้สึกทางอารมณ์ของคนเราส่งอิทธิพลต่องานวิจัยได้
คำถามในงานวิจัย มักไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องแน่นอน (Absolute) ได้ แต่เป็นการให้ข้อมูลหรือความจริง (Facts) เพื่อเอาไปคิดใคร่ครวญต่อ
ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราต่อต้าน (Against) การตบตีลูก เราก็จะยอมรับในสิ่งที่ นักจิตวิทยา ดร. เออร์วิน ไฮแมน (Irwin Hyman) พูดที่จะหยุดการลงโทษโดยใช้วิธีตบตีลูก ต่อให้งานวิจัยนั้นจะไม่ได้สนับสนุนการห้ามตบตีลูก
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning [2021, April 3].