จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 311: พ่อแม่ควรตบตีลูกไหม

จิตวิทยาผู้ใหญ่-311

      

การลงโทษทั้งสองแบบนี้จะลดหรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการได้ แต่การตบตี (Spanking) มีผลข้างเคียงด้านลบที่แย่กว่าการขอเวลานอก (Time out) ซึ่ง มีประสิทธิภาพมากกว่า ในการกำจัด (Eliminate) พฤติกรรมที่ไม่ต้องการ การลงโทษทั้ง 2 แบบจะให้ผลดีที่สุดถ้าควบคู่กับสิ่งเสริมแรง (Reinforcement) ทางบวก เพื่อเด็กจะเรียนรู้พฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องการ

ทุกวันนี้ประมาณ 64% ของผู้ใหญ่อเมริกันยอมรับว่าตบตีลูกตนเอง ทุกวันนี้ ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่าควรหรือไม่ควรตบตีลูก นักสังคมวิทยา (Sociologist) ชื่อ เมอร์เร่ย์ สเตร้าส (Murray Straus) รายงานว่ายิ่งพ่อแม่ตีลูกเวลาทำผิดมากเท่าไหร่จะมีสิ่งแย่ขึ้นตามมาเมื่อเวลาผ่านไป

เมอเรย์บอกว่า “เขาสามารถแสดงให้เห็นว่าเมื่อไหร่ที่พ่อแม่ต้องการแก้ไขพฤติกรรมลูกให้ถูกต้องด้วยการตบตี มันจะเหมือนระเบิดย้อนกลับ ยิ่งตีมากเท่าไหร่ (3 ครั้งหรือมากกว่าต่อสัปดาห์) พฤติกรรมของลูกจะยิ่งแย่ในอีก 2 ปี และ 4 ปี หลังจากนั้น”

อย่างไรก็ตาม การศึกษาของเมอเรย์มีหลายปัญหา กล่าวคือ (1) แม่ในช่วงอายุ 14 – 21 ปี ไม่ใช่ตัวแทนตัวอย่าง (Representative sample) ของแม่ในสหรัฐอเมริกา (2) การศึกษานี้มองที่เด็กอายุ 6 – 9 ปี ไม่ใช่เด็กที่อายุต่ำกว่านี้ และ (3) ได้มีการสัมภาษณ์ 2 ครั้ง ห่างกัน 2 ปีต่อมา ดังนั้นเลยมีคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อและความเป็นจริงของคำตอบ

เดน ทรัมบูล (Den Trumbull, M.D.) กุมารแพทย์ ผู้วิพากษ์วิจารณ์ถึงบทสรุปของเมอรเรย์ กล่าววว่า การตบตีลูกมีประสิทธิภาพและไม่ทำร้ายพัฒนาการ ถ้าจำกัดอยู่ในเด็กระหว่าง 18 เดือน และ 6 ปี

อีกมุมมองหนึ่ง การตบตีอาจจะหยามเกียรติ (Humiliate) และสร้างบาดแผล (Traumatic) ในเด็กอายุ 6 – 9 ปี และนำไปสู่ปัญหาในอนาคต นายแพทย์ ทรัมบูลพูดว่า การตบตีลูก 1 หรือ 2 ครั้งที่ก้น ควรเป็นมาตรการสุดท้าย (Last resort)

นักจิตวิทยาโรเบิร์ต ราซีลเลียร์ (Robert Larzelere) ผู้อำนวยการงานวิจัยผู้อยู่อาศัย (Director of Residential Research) ที่บอยส์ทาวน์ (Boys Town) ในรัฐเนบราสการ์ ซึ่งไม่อนุญาตให้ตบตีลูก ได้ทบทวนงานวิจัย 35 ชิ้น และไม่สามารถหาหลักฐานที่สามารถโน้มน้าวได้ว่าการตบตีไม่รุนแรงที่พ่อใช้โดยทั่วไป จะส่งผลกระทบในการทำลาย (Damage)

ราซีลเลียร์ สรุปว่าการตบตีของพ่อแม่สำคัญน้อยกว่าตบตีอย่างไร ถ้าพ่อแม่ใช้การตบตีเป็นการสำรองชั่วคราว (Occasional back-up) แทนเป็นขอเวลานอก (Time-out) และเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบวินัยในบริบท (Context) ของความสัมพันธ์รักแล้ว ก็จะเป็นบทบาทที่ได้ประโยชน์ (Beneficial role)

สโมสรกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatricians) สรุปว่าในบางสถานการณ์ การตบตีอาจจะเป็นสิ่งสำรองที่มีประสิทธิผล เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบอื่นของการลงโทษ

อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเออร์วิ่น ไฮแมน (Irwin Hyman) สรุปว่ามีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเลือกว่าเราไม่จำเป็นต้องตบตีเด็ก ต่อให้หลักฐานเหล่านั้นไม่ได้หนักแน่นก็ตาม

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Murray A. Straus - https://en.wikipedia.org/wiki/Murray_A._Straus[2021, March 27].