จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 310: การสะท้อนกลับทางชีวภาพ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 21 มีนาคม 2564
- Tweet
การสะท้อนกลับทางชีวภาพนำมาใช้บ่อยในการร่วม (Conjunction) กับการรักษาทางการแพทย์ (Medical treatment) อื่นๆ หรือการบำบัดทางจิต (Psycho-therapy) และสามารถช่วยให้คนลดความดันโลหิต, อาการปวดหัว, และลดความกังวล (Anxiety)
ในอีกมิติหนึ่ง จากการสำรวจ 42% ของแม่ในนิวยอร์ก (New York) ตบตี (Spanking)ลูกน้อยของตัวเองในสัปดาห์ที่ผ่านมาและ 64% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ยอมรับว่าตบตีลูกของตน
แม้ว่าการตีลูกยังคงเป็นสิ่งที่หลายคนทำเพื่อสร้างระเบียบ (Discipline) ให้ลูก แต่มันสามารถสร้างผลข้างเคียงทางลบ ซึ่งเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ (Undesirable) เมื่อเปรียบเทียบกับการลงโทษแบบขอเวลานอก (Time-out procedure) ซึ่งเราจะมาดูข้อดี (Pros) และข้อเสีย (Cons) ของสิ่งเร้าที่ไม่รื่นรมย์ (Aversive stimulus)
ในบางกรณีการลงโทษทางบวกสามารถเกิดขึ้นได้ แก่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ แต่การเลือกใช้การลงโทษทางบวกอย่างไม่ระวัง เช่นการตีที่รุนแรง (Harsh) เพื่อลงโทษพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive) พบว่าให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม โดยเพิ่มปัญหาของพฤติกรรมต่อต้านสังคม (Anti-social) ยิ่งขึ้น
นอกจากการเพิ่มพฤติกรรมก้าวร้าว งานวิจัยยังรายงานว่าการตีหรือการลงโทษที่ทำร้ายร่างกาย จะลดความนับถือตัวเอง (Self-esteem) ทำให้เด็กมีอาการซึมเศร้า (Depress) แล้วยังแสดงพฤติกรรมให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง ซึ่งเด็กอาจะมีการทำตาม (Imitate) ในอนาคตอีกด้วย
ผลกระทบที่ไม่ต้องการบางอย่างของการลงโทษทางบวก สามารถลดลงได้ถ้าลงโทษทันทีหลังจากพฤติกรรมเกิด, ถ้ามันรุนแรงพอที่จะส่งผลกระทบ, ถ้ามีการส่งผลที่สม่ำเสมอ, ถ้าเด็กรับรู้เหตุผลที่ตนถูกลงโทษ, และที่สำคัญถ้าการลงโทษถูกใช้ควบคู่กับการเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
การลงโทษทางบวกคือ จะชี้นำเพียงสิ่งที่พวกเด็กไม่ควรทำ แต่การเสริมแรงทางบวก เป็นกำลังใจให้เด็กประพฤติสิ่งที่ต้องการออกมา อีกการสร้างระเบียบวินัยหนึ่ง คือการขอเวลานอก (Time-out) อันเป็นการลงโทษทางลบ (Negative punishment) เพราะเกี่ยวโยงกับการเอาสิ่งเร้าเสริมแรงออก เพื่อไม่ให้สิ่งที่ไม่ต้องการบางอย่างเกิดขึ้นมาอีกครั้ง
ยกตัวอย่างเช่น หลังจากทำพฤติกรรมผิด (Mis-behaving) เด็กจะถูกการแยกออกไปอยู่ที่มุมห้องโดยที่ไม่ได้เล่นเกมส์, หนังสือ, หรือของเล่น การขอเวลานอก จะส่งผลได้ดีเมื่อใช้อย่างสม่ำเสมอและควบคู่ไปกับการสอนทางเลือกของพฤติกรรมที่ต้องการให้แก่เด็กโดยใช้สิ่งเสริมแรงทางบวก
เปรียบเทียบกับการลงโทษ การขอเวลานอกมีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการน้อยกว่า มันไม่ได้แสดงแบบอย่างของความรุนแรงและไม่ได้แสดงการตอบสนองของภาวะทางอารมณ์ในด้านลบที่รุนแรง ซึ่งเมื่อไหร่ที่จำเป็นต้องสร้างวินัยให้เด็ก ต้องมีการดูแลโดยเลือกระหว่างการลงโทษทางบวก (ตบตี) และทางลบ (ขอเวลานอก)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Reinforcement - https://en.wikipedia.org/wiki/Reinforcement#Positive_reinforcement[2021, March 21].