จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 308: การดัดแปลงพฤติกรรม (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 7 มีนาคม 2564
- Tweet
หลักสูตรของนายแพทย์ ไอวาร์ โลวาส (Ivar Lovaas) แห่ง มหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ณ ลอสแอลเจลิส (University of California at Los Angeles : UCLA)) เรียกว่า “โครงการออทิสติกในเด็กเล็ก” ซึ่งประกอบด้วยบทเรียนนับร้อย ที่แตกต่างกันไป หลายอย่างใช้หลักการของการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning)
อันได้แก่การเลือกพฤติกรรมเป้าหมาย, ก่อร่างพฤติกรรม, และใช้สิ่งเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcer) โดยการชมและอาหารที่ให้ทันทีหลังจากที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ
ยกตัวอย่างของหลักสูตรที่ช่วยให้เด็กออทิสติก (Autistic) ฝึกการสบตา พฤติกรรมเป้าหมายคือการทำให้เด็กออทิสติกสามารถสบตาคนอื่นหลังจากได้รับคำสั่ง “มองมาที่ฉัน” การก่อร่างพฤติกรรมประกอบด้วยสองขั้นตอน ในขั้นตอนแรก ให้เด็กนั่งบนเก้าอี้มองที่หน้าคนสอนแล้วออกให้คำสั่ง “มองมาที่ฉัน” ทุก 5 – 10 วินาที
เมื่อไหร่ที่เด็กให้การตอบสนองที่ถูกต้องโดยมองกลับมา ให้ตอบว่า “ดูดี” และตามมาทันที (Simultaneously) ด้วยการให้อาหารเด็กคนนั้น ในขั้นตอนสอง ทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าเด็กจะทำตามคำสั่ง “มองมาที่ฉัน” ซ้ำๆ ต่อจากนั้นให้ค่อยๆ (Gradually) เพิ่มเวลาการสบตาของเด็กพวกนี้โดยจาก 1 วินาที เป็น 2 - 3 วินาที
การใช้หลักสูตรการดัดแปลงพฤติกรรมนี้ ทำให้นักบำบัดหรือพ่อแม่ประสบความสำเร็จในการสอนเด็กออทิสติกเพื่อให้สบตาคนอื่น, เพื่อหยุดการโยกอย่างต่อเนื่อง, เพื่อตอบสนองต่อคำขอเช่น “ล้างมือ”, เพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น, เพื่อพูดหรือมีส่วนร่วมกับงานในโรงเรียน เช่นการอ่านหรือเขียน ทีมงานวิจัยได้มีการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับเด็กที่เป็นออทิสติก 19 คน การฝึกฝนในการดัดแปลงพฤติกรรมได้ดำเนินอย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และมากกว่าสองปี
หลังจากการฝึกฝน 47% (9/19) สามารถไปถึงสถานะปกติ เด็กพวกนี้ได้รับภาษาที่เพียงพอ, สังคม, การเล่น, และพฤติกรรมการช่วยเหลือตัวเอง จนพวกเขาสามารถเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาลและสามารถไปต่อจนจบชั้นประถม 1 ที่โรงเรียนรัฐได้ เด็กหลายคนสามารถทำได้ดีโดยที่ครูไม่รู้ว่าเด็กพวกนี้มีอาการออทิสติก
อย่างไรก็ตาม ด้วยการฝึกฝนที่เข้มข้น (Intensive) 40% ของเด็กออทิสติก ยังคงมีปัญหาทางสมองแบบอ่อนๆ (Mildly retarded) และอีก 10% ยังคงมีอาการออทิสติกเท่าเดิมและได้เรียนรวมกับพวกเด็กที่มีปัญหาทางสมอง
ในมุมเปรียบเทียบ กลุ่มควบคุม (Control group) ของเด็กออทิสติกที่ได้รับการบำบัดน้อยที่สุด มีเพียง 2% ที่บรรลุความปกติทางปัญญา และสามารถเรียนรู้ได้ อีก 45% ยังมีความผิดปกติทางสมองแบบอ่อนๆ และอีก 53% มีความผิดปกติทางสมองที่รุนแรง นักวิจัยสรุปว่า ถ้าไม่มีการบำบัดที่เข้มข้น เด็กออทิสติกพวกนี้จะยังคงแสดงปัญหาที่รุนแรงทางพฤติกรรม
การศึกษาที่ติดตามมา 6 ปี ของเด็กทั้ง 9 คนที่กลับมาสถานะปกติ พบว่าเขายังคงเก็บประโยชน์ที่พวกเขาได้รับและยังสามารถทำงานได้ปกติ จนพวกเขาอายุ 20 – 30 ปีแสดงให้เห็นว่า 8 คนกลายเป็นคนปกติซึ่งไม่ได้ทำคะแนนต่างกับผู้ใหญ่คนอื่นที่ปกติในข้อสอบต่างๆ ในขณะที่หนึ่งมีปัญหาทางพฤติกรรมแต่ไม่เกี่ยวข้องกับออทิสติก
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Ole Ivar Lovaas - https://en.wikipedia.org/wiki/Ole_Ivar_Lovaas [2021, March 6].
- Autism spectrum - https://en.wikipedia.org/wiki/Autism_spectrum [2021, March 6].