จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 303: การเรียนรู้แบบเตรียมตัว (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 31 มกราคม 2564
- Tweet
ประสบการณ์ของคนหนึ่งที่ในสมัยเด็ก อาจเป็นเด็กที่พูดเก่ง แต่ไม่อยากไปโรงเรียนชั้นประถม เพราะเขายังอ่านหนังสือไม่คล่องเหมือนพี่ชายของเขา
ทำไมเขาจึงเรียนรู้รวดเร็วในการพูดภาษาเดียวกับพ่อแม่ของเขา แต่ใช้เวลาหลายปีในการเรียนรู้ที่จะเป็นนักอ่านที่ดี ซึ่งเกี่ยวโยงกับปัจจัยทางชีวภาพ
เราอาจมีคำถามว่า ทำไมคนเราเรียนรู้ที่จะพูดได้หลายภาษาและทำไมนกสามารถเรียนรู้ที่จะจำสถานที่ต่างๆ ที่พวกมันเคยบินไป
นกพันธ์เล็กที่เรียกว่าคลาค นัทแคร้กเกอร์ (Clark’s nutcrackers) อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอาหารน้อยมากในช่วงหน้าหนาว โดยจะรวบรมแล้วแอบซ่อนอาหารของพวกมันไว้ใต้ดิน (Under-ground) ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง หรือ ใช้พื้นที่ในการเก็บประมาณ 2,500 – 6,000 แห่ง
และช่วงหน้าหนาวนกพวกนี้มีชีวิตรอดโดยการขุดหาอาหารที่ตัวมันเองซ่อนไว้ พวกมันสามารถหาพื้นที่มากกว่า 1,000 แห่ง (ที่มันซ่อนในสัปดาห์หรือหลายเดือนก่อนหน้านั้น) เจอได้อย่างไร ซึ่งเหตุผลหนึ่งมาจากการเรียนรู้แบบเตรียมพร้อม (Preparedness)
การเรียนรู้ข้างต้นนี้หมายถึง โดยกำเนิดหรือแนวโน้มทางชีววิทยาของสัตว์เพื่อจดจำ (Recognize), ใส่ใจกับ (Attend to), และเก็บข้อมูลบางอย่างไว้เหนือสิ่งอื่น เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของการผสมผสาน สิ่งเร้า (Stimuli) ที่มีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข
ภายใต้เงื่อนไขกึ่งธรรมชาติ (Semi-natural) นักวิจัยสังเกตเห็นความสามารถที่หน้าทึ่ง (Amazing) ของนกสายพันธ์ข้างต้น ที่พวกมันแอบและสามารถหาเจอพื้นที่ที่มันเก็บอาหาร นัยร้อยๆ แห่ง
นักวิจัยค้นพบว่าพวกนกเหล่านี้ใช้พื้นที่จุดสังเกต (Land-mark) ตามธรรมชาติ (ต้นไม้, หิน, พุ่มไม้) เพื่อสร้างแผนที่ทางปัญญา (Cognitive map) ให้พวกมันสามารถจดจำที่แอบซ่อนอาหารได้
เหตุผลหนึ่งที่พวกนกเหล่านี้มีความทรงจำที่น่าอัศจรรย์ (Phenomenal) ก็เพราะพื้นที่ในสมองพวกมันที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ มักใหญ่กว่าพื้นที่ในสมองของนกที่ไม่เก็บอาหาร
โดยเฉพาะส่วนสมองฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเกี่ยวของกับการย้ายความทรงจำระยะสั้นไปยังความทรงจำระยะยาว มีขนาดที่ใหญ่ในนกสายพันธ์คลาคมากกว่านกชนิดอื่นที่ไม่มีการเก็บอาหาร
ดังนั้น นกสายพันธ์นี้จึงดูเหมือนมีการเตรียมพร้อมทางชีวภาพเพื่อเอาชีวิตรอดในช่วงหน้าหนาวที่แห้งแล้ง (Barren) โดยการมีพื้นที่ฮิปโปแคมปัสในสมองที่ใหญ่ เพื่อที่มันจะสามารถจดจำพื้นที่นับพันๆ แห่งที่มันแอบซ่อนอาหารเอาไว้
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioning - https://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2021, January 30].