จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 298: ทฤษฎีปัญญานิยมทางสังคมของแบนดูร่า (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 27 ธันวาคม 2563
- Tweet
สัปดาห์นี้จะพูดถึงการศึกษาครั้งต่อไปของแบนดูร่า (Bandura) ว่าทฤษฎีปัญญานิยมทางสังคมซึ่งบางครั้งต้องอาศัยเวลาและ ความพยายาม (Effort) ลดอาการกลัวงูได้อย่างไร
แม้ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ไว้ใจ (Wary) สัตว์จำพวกงู แต่บางคนก็ได้พัฒนาและกลัวสัตว์พวกนี้อย่างสุดๆ (Intense) แบนดูร่า (Bandura) และเพื่อนร่วมทีม (Colleague) ได้คัดเลือก (Recruit) กลุ่มคนเข้ามาทดลอง (Subjects)
กลุ่มคนเหล่านี้มีการวิวัฒนาความกลัวที่รุนแรงต่องู โดยหลีกเลี่ยง (Avoid) กิจกรรมกลางแจ้ง (Outdoor activity) ตามปรกติหลายๆ อย่างเช่น เดินป่า (Hiking) หรือทำสวน (Gardening)
การวัดค่า (Measure) ความกลัวของผู้มารับการทดลองต่องู กระทำอย่างเที่ยงตรง (Objective) โดยสังเกต 29 ขั้นตอนของการเพิ่มความกลัวขึ้นเรื่อยๆ ที่พวกเขาจะแสดงออกมา
ยกตัวอย่างเช่นขั้นตอน 1 คือให้กลุ่มคนทดลองเข้าใกล้ (Approaching) กรงแก้ว (Glass cage) ที่มีงูด้านใน และขั้นตอนที่ 29 คือการนำงูมาวางบนตัก (Lap) คนกลุ่มนี้แล้วปล่อยให้มันเลื้อย (Crawl) รอบๆ ระหว่างวางมือพวกเขาไว้ข้างๆ
กลุ่มหนึ่งของผู้เข้ารับการทดลองเฝ้ามองดูต้นแบบ (Model) รับมือกับงูจงอาง (King cobra) ที่ไม่มีอันตราย (Harmless) ขนาดความยาว 1.23 เมตร
หลังจากการสังเกตผ่านไป 15 นาที ผู้เข้ารับการทดลองได้ถูกเชิญให้เข้ามาใกล้งูทีละนิด (Gradually) ต่อมาต้นแบบก็แสดง (Demonstrate) การจับงูแล้วขอให้ผู้เข้ารับการทดลองลอกเลียนการกระทำของตัวเธอ
ระหว่างที่ต้นแบบกำลังถืองูอยู่ในมือ ก็ได้มีการเชิญให้ผู้เข้ารับการทดลองเข้ามาจับงูโดยที่สวมถุงมืออยู่ (Gloves) ส่วนอีกกลุ่มผู้เข้ารับทดลอง (ซึ่งมีรายงานว่าความกลัวงูอย่างสุดๆ) ไม่ได้รับการปฏิบัติใดๆ (No treatment) [กลุ่มควบคุม (Control group)]
ผลลัพธ์และบทสรุปของปฏิบัติการนี้ก็คือ ผู้เข้ารับการทดลองที่มองเห็นต้นแบบรับมือกับงูสดๆ (Live) และบางคนที่มีการเลียนแบบพฤติกรรม (Behavior) จากต้นแบบ ทำคะแนนระดับ (Scale) โดยเฉลี่ยอยู่ 27 ใน 29 ขั้นตอนที่เมื่อเข้าใกล้งู
อีกด้านหนึ่ง กลุ่มควบคุมทำคะแนนระดับได้เฉลี่ยเพียง 10 ใน 29 ขั้นตอนของการเข้าใกล้งู การศึกษานี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พฤติกรรมคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างเห็นได้ชัดโดยผ่านปัญญานิยมทางสังคม ซึ่งตอกย้ำ (Emphasize)การสังเกตและการลอกเลียนแบบ
แบนดูร่าเชื่อว่าคนสามารถรับ (Acquire) ข้อมูลความกลัวได้เป็นจำนวนมาก, บทบาททางสังคม (Social role), การเลือกออก (Discrimination), และการปฏิสัมพันธ์ตนเอง ผ่านการเรียนรู้ทางปัญญานิยมผ่านสังคม สัปดาห์ต่อไปเราจะมาพูดถึงอีกประเภทหนึ่งของการเรียนรู้ทางปัญญา และความทรงจำ โดยมีการพูดถึงความรู้สึกน่าประหลาดใจ (Ah-ha feeling)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioning - https://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning [2020, December 26].