จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 297: ทฤษฎีปัญญานิยมทางสังคมของแบนดูร่า (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-297

      

เหมือนที่เอ็ดเวิร์ด โทล์แมน (Edward Tolman) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เชื่อว่าหนูทดลองได้รวบรวมข้อมูล (Information) และสร้างแผนที่การรับรู้ (Cognitive map) เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง (Environment) ผ่านการสำรวจ (Exploration) อัลเบิร์ต แบนดูร่า (Albert Bandura) เชื่อว่าคนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งรอบข้างและพฤติกรรมคนอื่นผ่านการสังเกต (Observation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญานิยมทางสังคม (Social cognitive theory of learning)

ทฤษฎีที่กล่าวข้างต้นบ่งชี้ถึงความสำคัญของการสังเกต, เลียนแบบ (Imitation), และให้รางวัลตัวเอง (Self-reward) ในการพัฒนาและเรียนรู้ของทักษะสังคม (Social skill), การปฏิสัมพันธ์ตนเอง (Personal interaction), และพฤติกรรมอื่นๆ อีกหลายอย่าง

แตกต่างจากการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioning) และการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning), ทฤษฎีนี้ของแบนดูร่าบอกว่า ไม่จำเป็นต้องแสดงพฤติกรรมที่สังเกตได้ หรือได้รับรางวัลภายนอก (External) จึงจะเกิดการเรียนรู้

แบนดูร่าเชื่อว่า 4 กระบวนการ (Process) [อันได้แก่ ความสนใจ (Attention), ความจำ (Memory), การลอกเลียน, กำลังใจ (Motivation)] ดำเนินไป (Operate) ขณะเรียนรู้ปัญญานิยมทางสังคม

เริ่มจาก 1. ผู้สังเกตต้องให้ความสนใจว่าแบบอย่าง (Model) กำลังพูดหรือทำอะไร ซึ่งสามารถดึงข้อมูลและเก็บมาใช้ได้ในภายหน้า ตัวอย่างเช่นมีผู้หญิง 2 คนคนแรกกำลังถือแมงมุม (Spider) อยู่ในมือ โดยที่ไม่กลัวอะไรเลย (Non-frighted) ส่วนอีกคนกำลังจ้องมองด้วยความทึ่ง (Amazement)

ต่อมา 2. คือความทรงจำ ซึ่งผู้สังเกตต้องเก็บ (Store) หรือจำข้อมูล ซึ่งสามารถดึง (Retrieve) ข้อมูลที่เก็บมาใช้ได้ในภายหน้า อ้างอิงจากตัวอย่างข้อ 1. ผู้หญิงที่มองดูแบบอย่างไม่กลัวแล้วจำภาพแบบอย่างเอาไว้

ข้อที่ 3. คือการเลียนแบบซึ่งผู้สังเกตต้องสามารถใช้ข้อมูลที่ตนเองจำเพื่อชี้นำ (Guide) การปฏิสัมพันธ์ของตนเอง แล้วเลียนแบบพฤติกรรม

จากตัวอย่างข้างต้นซึ่งผู้หญิงที่มองจะพยายามลอกเลียนแบบคนที่ถือแมงมุมอยู่ในมือ โดยไม่แสดงความกลัวทางสีหน้า (Facial expression) และท่าทาง (Manner) เมื่อตนเองต้องถือแมงมุมอยู่ในมือ

ข้อสุดท้าย 4. ผู้สังเกตต้องมีเหตุผลบางอย่างหรือแรงบัลดาลใจ (Incentive) เพื่อลอกเลียนพฤติกรรมของแบบอย่าง จากตัวอย่างข้อที่ 1. ผู้สังเกตอยากหายกลัวแมงมุมเพราะเธออยากไปเที่ยวค้างแรมกลางป่า (Camping)

ถ้าผู้สังเกตสามารถลอกเลียนแบบอย่างด้วยพฤตอกรรมที่ผ่อนคลาย (Calm) จะทำให้เธอพิชิต (Overcome) ความกลัวของเธอที่มีต่อแมงมุม และสามารถไปเที่ยวค้างแรมกลางป่ากับเพื่อนของเธอได้ ตัวอย่างที่กล่าวไปแสดงให้เห็นถึง 4 กระบวนการทางจิต (Mental) ของแบนดูร่าว่า ดำเนินไปขณะเรียนรู้ทางปัญญานิยมผ่านสังคมได้อย่างไร

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Albert Bandura - https://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Bandura [2020, December 19].