จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 294: การเรียนรู้ทางปัญญานิยม (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 29 พฤศจิกายน 2563
- Tweet
ในคริสต์ทศวรรษ 1920s ใกล้กับช่วงเวลาที่สกินเนอร์ (Skinner) เน้นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ เอ็ดเวิร์ด โทลแมน (Edward Tolman) ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับ กระบวนการทางจิต (Mental process) ที่ถูกซ่อนอยู่ ยกตัวอย่างเช่นเขาได้วางหนูทีละตัวในกล่องที่เขาสร้างเป็นเขาวงกต (Maze) และปล่อยให้หนูทีละตัวมีเวลาสำรวจ โดยที่ไม่มีอาหารอยู่ในนั้น
ต่อมาเขาก็วางอาหารไว้ในกล่องเขาวงกต เขาทดสอบหนูเพื่อดูว่ามันจะใช้เส้นทางไหน หนูเรียนรู้ได้รวดเร็วที่จะใช้เส้นทาง (Path) ที่สั้นที่สุด แล้วโทลแมนก็ได้ขวาง (Block) เส้นทางที่สั้นที่สุดที่จะไปถึงกล่องอาหารนั้น ตอนแรกที่หนูพบสิ่งกีดขวางมันก็เลือกเส้นทางที่สั้นรองลงมาเพื่อไปที่กล่องอาหาร
ในความคิดของโทลแมน หนูเลือกทางที่สั้นรองลงมาเพราะมันได้มีการพัฒนาแผนที่การรับรู้ (Cognitive map) ของกล่องเขาวงกต ซึ่งเป็นตัวแทนทางจิต (Mental representation) ในสมองของแบบร่าง (Layout) ของสภาพแวดล้อมและลักษณะเฉพาะ (Feature) ของมัน โทลแมนแสดงให้เห็นว่า
นอกจากการก่อร่าง (Form) แผนที่การรับรู้แล้ว หนูยังเรียนรู้แบบร่างเขาวงโกตโดยที่ไม่มีการเสริมแรง (Reinforce) ซึ่งเป็นจุดยืน (Position) ที่ค่อนข้างแตกต่างจากสกินเนอร์ จุดยืนของโทลแมนดังกล่าว ทำให้มีการหวนกลับมาทบทวนสิ่งที่นักจิตวิทยากำลังศึกษาความหลากหลาย (Variety) ของกระบวนการทางปัญญา (Cognitive process) ในสัตว์ ในปัจจุบัน การศึกษาของโทลแมนในเรื่องนี้ [ในเวลานั้น] ได้วางรากฐานสำหรับการศึกษากระบวนการทางปัญญาในคน อันแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน [ในเวลาต่อมา] โดยทฤษฎีของอัลเบิร์ด แบนดูร่า (Albert Bandura)
แบนดูร่าเริ่มต้นจากเป็นนักพฤติกรรมศาสตร์ ตามแบบแต่ดั้งเดิมของสกินเนอร์ (Skinnerian tradition) อันหมายความว่าเขาสนใจจุดสำคัญของพฤติกรรมที่สังเกตได้ และหลีกเลี่ยงที่จะศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางจิต (Mental even) ตั้งแต่นั้นมา เขาเกือบเปลี่ยนความคิดทั้งหมด (Entirely shift) ไปยังการเรียนรู้ทางปัญญานิยม (Cognitive learning)
จากการศึกษามากมายของเขา เขาเชื่อในวิธีการที่คนเรียนรู้ผ่านการสังเกตผู้อื่น ยกตัวอย่าง แบนดูร่ากล่าวว่า เป็นการง่ายมากที่เด็กจะเรียนรู้ว่าเกลียดแมงมุม (Spider) โดยเพียงแค่สังเกตผู้อื่นที่แสดงความกลัวแมงมุมอย่างรุนแรง (Great fear) และนี่คือตัวอย่างการเรียนรู้ทางปัญญาผ่านสังคม (Social cognitive learning) ซึ่งเป็นผลจากการเฝ้ามอง (Watching), การลอกเลียน (Imitating), การสร้างแบบจำลอง (Modeling) และไม่จำเป็นต้องให้พฤติกรรมผู้สังเกต หรือได้รับรางวัล
เหมือนที่โทลแมนพบว่า การเรียนรู้เกิดขึ้น (Occur) ขณะที่หนูสำรวจ แบนดูร่าพบว่าคนเรียนรู้ขณะสังเกตและคนส่วนใหญ่เรียนรู้ผ่านการสังเกตซึ่งตอกย้ำกระบวนการทางปัญญา อันแตกต่างคนละขั้ว (180 องศา) จากจุดยืนของสกินเนอร์ ผู้เน้นไปที่พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ไม่ผ่านการเรียนรู้ (Non-cognitive) หรือปัญญานิยม
หลังการเสียชีวิตของสกินเนอร์ การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการการเรียนรู้ รวมทั้งปัญญานิยมก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย (Popularity) การศึกษาของแบนดูร่าที่เป็นที่รู้จักกันไปทั่ว เกี่ยวกับตุ๊กตา (Doll) พร้อมทั้’การเตะ (Kicking) และการร้องลั่น (Screaming)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Edward C. Tolman - https://en.wikipedia.org/wiki/Edward_C._Tolman [2020, November 28].
- Albert Bandura - https://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Bandura [2020, November 28].