จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 292: แนวคิดการวางเงื่อนไขแบบอื่น (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-291

      

ในช่วงเวลาที่หมีบาร์ต (Bart) ถูกวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) เพื่อให้หยิบแล้วอุ้มตุ๊กตาหมี (Teddy bear) ด้วยสัญญานมือ มันก็ได้เรียนรู้สิ่งอื่นไปพร้อมกัน ยกตัวอย่างเช่น การอุ้มลูกหมี (Bear cub), การที่จะไม่ทำตามคำสั่งจากคนแปลกหน้า, และการหยุดหยิบตุ๊กตาเมื่อมันไม่ได้รับลูกแอปเปิ้ล หรือสิ่งเสริมแรง (Reinforcement)

ในภาพยนตร์ หมีบาร์ตควรที่จะหยิบแล้วอุ้มลูกหมีตามคำสั่ง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์จริงในป่า แทนที่หมีโคเดียก (Kodiak) ตัวผู้ (Adult male) จะทำพฤติกรรมนี้ มันจะเลือกสังหารลูกหมีแทน แม้ว่าบาร์ตจะเป็นหมีที่ค่อนข้างเชื่อง (Tame) ครูฝึกก็จะไม่สามารถควบคุมโอกาสที่สัญชาตญาณในตัวบาร์ตจะตื่นขึ้นมาแล้วสังหารลูกหมี

ด้วยเหตุผลข้างต้น ครูฝึกจึงต้องสั่งให้เริ่มฝึกการวางเงื่อนไขกับสิ่งของตุ๊กตาหมี ทันทีหลังจากมันเรียนรู้ที่จะหยิบแล้วอุ้มตุ๊กตาตามการบอกเป็นนัย (Cue) ครูฝึกค่อยเปลี่ยนมาใช้ลูกหมีที่มีชีวิตแทน เหมือนที่ครูฝึกคาดการณ์ บาร์ตเปลี่ยนจากการอุ้มตุ๊กตาเป็นลูกหมีจริง เป็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ลักษณะโดยทั่วไป (Generalization)

ในการวางเงื่อนไขการเรียนรู้ ลักษณะโดยทั่วไป หมายถึง การที่สัตว์หรือคนแสดงออก (Emit) การตอบสนองแบบเดิมกับสิ่งเร้า (Stimuli) ที่คล้ายกัน ในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) ลักษณะทั่วไป เป็นแนวโน้มสำหรับสิ่งกระตุ้นคล้ายเงื่อนไขกระตุ้นดั้งเดิม (Original conditioned response) เพื่อแสดง (Elicit) การตอบสนองที่คล้ายกันกับเงื่อนไขตอบสนอง

สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปและบางครั้งมันน่าขายหน้า (Embarrassing) ก็คือตัวอย่างของลักษณะทั่วไปที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กเล็กเรียกผู้ชายคนอื่นที่คล้ายกับพ่อแท้ๆ ว่า “พ่อ” (Daddy) พ่อแม่จริงของเด็กคนนั้น ต้องรีบสอนให้ลูกของตนให้รู้จักลักษณะแยกแยะ (Discriminate) ระหว่างพ่อแท้ๆ กับผู้ชายคนอื่นที่ดูคล้ายกับพ่อของตัวเอง

ตั้งแต่บาร์ตถูกเก็บมาเลี้ยง (Raised) และฝึก (Trained) โดยผู้ชายวัยฉกรรณ์ มันได้เรียนรู้ที่จะเชื่อฟังและคำสั่งที่บอกเป็นนัยจากครูฝึกของมันเพียงคนเดียว และไม่ใช่จากผู้ชายวัยฉกรรณ์คนอื่น เป็นตัวอย่างของลักษณะการแยกแยะ (Discrimination)

ในการวางเงื่อนไขการเรียนรู้ ลักษณะการแยกแยะ หมายถึงการตอบสนองที่ถูกนำออกมาปรากฏ (Presence) ต่อสิ่งเร้า (Stimuli) ที่เสริมแรง (Reinforced) และไม่ใช่การปรากฏของสิ่งเร้าที่ไม่ได้เสริมแรง (Unreinforced)

ในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) ลักษณะการแยกแยะเป็นแนวโน้มสำหรับสิ่งเร้าบางอย่าง (แต่ไม่ใช่สิ่งเร้าอื่น) ที่แสดงเงื่อนไขการตอบสนอง

ปัญหาหนึ่งของหมีบาร์ต ก็คือมันจะหยิบแล้วอุ้มตุ๊กตาเพื่อให้ได้รับลูกแอปเปิ้ล ในการควบคุมปัญหานี้ ครูฝึกใช้การบอกเป็นนัยด้วยการยกมือขึ้นไปบนอากาศ เพื่อส่งสัญญาน (Signal) ว่า หมีบาร์ตจะได้รับลูกแอปเปิ้ลสำหรับพฤติกรรมของมัน และนี่คือตัวอย่างของสิ่งเร้าที่มีลักษณะแยกแยะ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, November 7].