จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 287: การเสริมแรงและบทลงโทษ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-287

      

ทั้งบทลงโทษทางบวกและลบ ทำงานเหมือนป้ายหยุด (Stop sign) มันหยุดหรือลดการเกิดขึ้น (Occurrence) ของพฤติกรรม วันนี้ เราจะอธิบายว่าบทลงโทษทางบวกถูกนำมาใช้งาน เพื่อรักษาอาการผิดปกติที่รุนแรงที่เรียกว่า การทำร้ายตัวเอง (Self-injuries behavior) ได้อย่างไร

พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง เกี่ยวข้องกับความร้ายแรงและในบางครั้งอาจมีอันตรายถึงชีวิต (Life-threatening) รวมถึงพวกคนไข้ทำร้ายร่างกาย (Physical damage) ตัวเอง ซึ่งอาจรวมไปถึงการกระแทกที่ร่างกายและที่หัว, การกัด, การเตะ, การหยิก (Poke) หูหรือตา, การดึงผม, หรือการเกาแรงๆ (Intense scratching)

ประมาณ 8 – 14% ของผู้ที่มีปัญญาอ่อน (Mentally retarded) ซึ่งอาศัยอยู่ในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ (Residential treatment facilities) โดยมีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง เนื่องจากกังวล (Concern) ถึงผลเสียที่เป็นไปได้ของการใช้บทลงโทษ

ทีมงานพิเศษ (Special Task Force) ในเรื่องพฤติกรรมการทำร้ายตัวเองสรุปว่า บทลงโทษทางบวกมีประสิทธิผล (Effective) ในการลด พฤติกรรมการทำร้ายตัวเองได้ดี แต่ต้องใช้หลังจากการรักษาอื่นๆ ไม่เป็นผล

เนื่องจากการรักษาอื่นไม่เป็นผล คณะกรรมการการบำบัดพฤติกรรม (Committee for Behavior Therapy) ได้อนุมัติ โปรแกรมการใช้บทลงโทษทางบวกเพื่อแก้ปัญหาของซูเซน (Suzanne) ผู้มีอายุ 24 ปี และมีปัญญาอ่อนอย่างรุนแรง (Profoundly)

หลายปีมานี้เธอติดนิสัยการกัดแทะที่รุนแรง และการแซะ (Gouging) ที่ตาและหูของตนเอง ซึ่งเธอต้องใส่หน้ากากป้องกัน (Fencing mask) และถุงมือแบบพิเศษเพื่อป้องกันการทำร้ายตัวเอง โดยพื้นฐานแล้ว (Essentially) โปรแกรมบำบัดรักษาใช้ไฟฟ้าช็อก (Electrical shock) ซูเซนทุกครั้งที่เธอกัดหรือทำร้าย (Harm) ตัวเอง

หลังจากผ่านการรักษามาหลายคาบ (Session) การใช้บทลงโทษทางบวกทำให้เธอลดการทำร้ายตัวเองลง 99% กล่าวคือเกือบถึง 0 ครั้ง และหลังจากการรักษา 69 คาบ หน้ากากและถุงมือของซูเซนถูกเอาออกและเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี เธอได้เริ่มกินอาหารด้วยตัวเอง, ได้เริ่มแสดงการดูแลตัวเอง, แล้วเธอยังปราศจาก (Refrain) การทำร้ายตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ก่อนการลงโทษถูกนำมาใช้ ควรพยายามใช้การรักษาแบบไม่มีบทลงโทษ บนพื้นฐานของการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) ยกตัวอย่างเช่นพฤติกรรมการทำร้ายตัวเองบางอย่างสามารถลดลงถ้าคนบำบัด (Therapist) ให้ความสนใจ (สิ่งเสริมแรง) แค่ตอนที่คนไข้ (Patient) หยุดการยึดติดในพฤติกกรมที่ไม่ทำร้ายตัวเอง หรือถ้าคนบำบัดเสริมแรงให้คนไข้แสดงบางพฤติกรรมที่ไม่ทำร้ายตัวเอง เช่นเล่นเกมส์ หรือกินลูกอม

แม้จะฟังดูแล้วอาจสับสน (Somewhat confusing) แต่พึงจงจำไว้ว่า การลงโทษทางบวกและลบมีไว้เพื่อลดแนวโน้ม (Likelihood) บางพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก แต่สิ่งเสริมแรงทางบวกและลบมีไว้เพื่อเพิ่มแนวโน้มของพฤติกรรมที่เราอยากให้เกิดขึ้นอีก

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, September 10].