จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 285: การเสริมแรง (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 27 กันยายน 2563
- Tweet
ในการศึกษาครั้งนี้ สิ่งเสริมแรง (Reinforcement) และบทลงโทษ (Punishment) ได้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของการผสมผสานเพื่อรักษาอาการโรคที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ (Potentially dangerous)
ถึงแม้ว่าการได้แอปเปิ้ล และการได้คำแนน F จะดูเหมือนแตกต่างกัน แต่สองสิ่งนี้คือผลที่ตามมา (Consequence) ที่สามารถเพิ่มการเกิดขึ้น (Occurrence) ของพฤติกรรมบางอย่าง
ตัวอย่างที่กล่าวถึงข้างต้นเป็น 2 ประเภทของสิ่งเสริมแรง หรือผลที่ตามมา [ในโลกแห่งความเป็นจริง] สิ่งที่เราพบเห็นอาจทางบวก (Positive) หรือ ทางลบ(Negative)] ที่จะเพิ่มการเกิดขึ้นของพฤติกรรม
ทันทีที่เจ้าหมีบาร์ต (Bart) ทำให้เกิดหรือแสดงพฤติกรรม (การอุ้มตุ๊กตาหมี) ครูฝึกจะให้แอปเปิ้ลเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ที่มันจะทำพฤติกรรมนั้นอีกครั้ง นี่คือตัวอย่างสิ่งเสริมแรงในทางบวก ซึ่งหมายถึง การแสดงออก (Presentation) ของแรงกระตุ้น (Stimulus) ที่เพิ่มความน่าจะเป็นที่พฤติกรรมจะเกิดขึ้นอีก
ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณขอยืมเงินเพื่อนแล้วได้เงิน เงินเป็นสิ่งเสริมแรงทางบวก ที่จะเพิ่มโอกาสให้คุณขอยืมเพื่อนอีกครั้ง
นอกจากนี้ ยังมีประเภทที่สองของสิ่งเสริมแรง เรียกว่า สิ่งเสริมแรงทางลบ ซึ่งหมายถึงแรงกระตุ้นที่น่ารังเกียจ (Aversive) หรือ ไม่น่ารื่นรมย์ (Unpleasant) ซึ่งเมื่อขจัด (Removal) ทิ้ง จะเพิ่มแนวโน้มของการสนองตอบก่อนหน้านั้น (Preceding) ให้เกิดขึ้นอีก
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีอาการปวดศีรษะแล้วทานยาแก้ปวด (Aspirin) เพื่อขจัดให้อาการหายไป การตอบสนองของการกินยาแก้ปวดเป็นตัวอย่างของสิ่งเสริมแรงทางลบ
ถ้าการกินยาแก้ปวดทำให้อาการปวดศีรษะหายไป ก็เป็นสิ่งเสริมแรงทางลบ เพราะว่ามันทำให้หายปวดศีรษะและเพิ่มโอกาสให้กินยาแก้ปวดอีกครั้งในอนาคต
อย่าสับสนกับความจริงที่ว่า สิ่งเสริมแรงทั้งทางบวกและลบ เพิ่มความถี่ (Frequency) ของการตอบสนองที่ตามมา
นอกจากสิ่งเสริมแรงทางบวกและลบ ยังมีสิ่งเสริมแรงหลัก (Primary) ยกตัวอย่างเช่นอาหาร และสิ่งเสริมแรงรอง (Secondary) เช่นเงินและคูปอง (Coupon) [ที่แจกฟรีเพื่อส่งเสริมการขาย]
เจ้าของความคิดในหลักการ (Principle) ของสิ่งเสริมแรง คือ บี. เอฟ. สกินเน่อร์ (B. F. Skinner) เขาเชื่อว่า ความคิดอิสระ (Free will) เป็นเรื่องของมายาคติ (Illusion) เพราะเขามีความเห็นว่า การกระทำของคนนั้น ขึ้นอยู่กับผลที่จะตามมาของการกระทำก่อนหน้านั้น จึงเป็นที่มาของทฤษฎีสิ่งเสริมแรง
นอกจากนี้ เขายังพัฒนาการวิเคราะห์พฤติกรรม โดยเฉพาะในปรัชญาของพฤติกรรมนิยมสุดขั้ว (Radical behaviorism) และค้นพบการวิเคราะห์พฤติกรรมด้วยการทดลอง (Experimental) ซึ่งเป็นสาขาวิชาหนึ่งของจิตวิทยาวิจัยจากการทดลอง
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, September 26].
- B. F. Skinner - https://en.wikipedia.org/wiki/B._F._Skinner[2020, September 26].