จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 283: เงื่อนไขการกระทำกับเงื่อนไขคลาสสิค (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 13 กันยายน 2563
- Tweet
ในตอนนี้เราจจะมาดูถึงขั้นตอนการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical condition) ที่ใช้ฝึกเจ้าหมีบาร์ต (Bart) โดยเริ่มจาก . . .
1. เป้าหมาย (Goal) ของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือต้องการสร้างการตอบสนอง (Response) ใหม่ ต่อสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral stimulus) ในกรณีของบาร์ต มันจะมีกการตอบสนองใหม่คือการหลั่งน้ำลาย (Salivation) ให้กับเสียงแตร อันเป็นสิ่งกระตุ้นที่เป็นกลาง เพราะตามปรกติ มันจะไม่ค่อยเป็นสาเหตุที่ทำให้บาร์ตหลั่งน้ำลาย
2. การตอบสนองโดยไม่สมัครใจ (Involuntary response) กล่าวคือการหลั่งน้ำลายของบาร์ตเป็นการตอบสนองที่ถูกบังคับ เพราะเป็นตัวอย่างของการสะท้อนกลับทางสรีรวิทยา (Physiological reflex) เช่นเดียวกับการกระพริบตา (Eye blink) อันถูกกระตุ้น (Triggered) หรือทำให้เกิดขึ้น (Elicited) โดยสิ่งเร้าบางอย่างที่ไม่สมัครใจ
3. การตอบสนองที่แสดงออกมา (Emitted) กล่าวคือ ในระหว่างที่บาร์ตกินลูกแอปเปิ้ล มันจะกระตุ้นการสะท้อนกลับสรีรวิทยาโดยไม่ตั้งใจของการหลั่งน้ำลาย ดังนั้นการกินลูกแอปเปิ้ลซึ่งเรียกว่าสิ่งเร้าที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned stimulus) จะกระตุ้นหรือทำให้เกิด การตอบสนองการสะท้อนกลับที่ไม่สมัครใจ (กล่าวคือ การหลั่งน้ำลาย) อันเรียกว่าการตอบสนองที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned response)
4. การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned response) เกิดขึ้นเมื่อบาร์ตได้รับการทดลอง (Trial) แบบซ้ำๆ โดยมีสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (กล่าวคือเสียงแตร) เป็นสิ่งที่กระตุ้นและตามด้วยการตอบสิ่งเร้าที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข (กล่าวคือลูกแอปเปิ้ล)
หลังจากที่บาร์ตถูกทดลองซ้ำๆ มันจะเรียนรู้ถึงความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่าง 2 สิ่งเร้า ว่าเสียงแตรจะตามมาด้วยลูกแอปเปิ้ล เสียงแตรหรือสิ่งกระตุ้นที่เป็นกลางจะกลายเป็นสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข ดังนั้นเมื่อมีเสียงจากแตรย่างเดียว (ก่อนการได้รับลูกแอปเปิ้ล) มันจะทำให้เกิดการหลั่งน้ำลาย ซึ่งเป็นการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข
เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต้องเกิดขึ้นไม่นานก่อนสิ่งเร้าที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข ถ้าสิ่งเร้าที่ไม่ถูกวางเงื่อนไขแสดงขึ้นก่อนสิ่งเร้าที่เป็นกลาง จะถูกเรียกว่าการวางเงื่อนไขย้อนกลับ (Backward conditioning) และสร้างผลกระทบเพียงเล็กน้อย ถ้ามีการวางเงื่อนไขอะไรก็ตาม
5. ความคาดหมาย (Expectancy) ตามมุมมองการรับรู้ (Cognitive perspective) ของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค สัตว์หรือคน เรียนรู้วามสัมพันธ์คาดการณ์ได้ (Predictable) ระหว่าง สิ่งเร้าที่เป็นกลางกับสิ่งเร้าที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งหมายความว่าบาร์ตเรียนรู้ ที่จะคาดหวังว่าสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (กล่าวคือเสียงแตร) และมักจะตามมาด้วยสิ่งเร้าที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข (กล่าวคือลูกแอปเปิ้ล) ดังนั้นในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค สัตว์และคนเรียนรู้ความสัมพันธ์ที่คาดการณ์ได้ระหว่างสิ่งเร้า
สิ่งสำคัญที่แตกต่างระหว่างการวางเงื่อนไขกระทำ (Operant conditioning) และเงื่อนไขแบบคลาสสิค ก็คือในเงื่อนไขการกระทำการแสดงออกของการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลที่จะตามมา อาจเป็นรางวัล (Reward) หรือเป็นบทลงโทษ (Punishment)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, September 12].
- Classical conditioning https://en.wikipedia.org/wiki/Classical_conditioning[2020, September 12].