จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 278: การวางเงื่อนไขการกระทำ (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-278

      

หนูทดลองอาจเริ่มกดลงไปที่แถบราว (Bar) อันเกิดมาจากตอนแรกที่หนูนั้นสงสัย (Curiosity) และมันจะกดอีกครั้งขึ้นอยู่กับผลพวง (Consequence) เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลพวงส่งผลต่อพฤติกรรม (Behavior) ให้จินตนาการว่า เรากำลังมองจากมิติของสกินเนอร์ (Skinner) ในขณะที่เขาเอาหนูวางลงไปในกล่อง

ในกล่องนั้นโล่งมีแค่แถบราวยื่นออกมา 1 ด้านของกล่องและถ้วยอาหารที่ว่างเปล่าซึ่งวางอยู่ด้านล่างและอยู่ไปทางด้านข้างของแถบราว กล่องนี้เรียกว่า กล่องสกินเนอร์ (Skinner box) ที่สามารถบันทึก (Record) โดยอัตโนมัติ ถึงการกดแถบราวของสัตว์ แล้วส่งเม็ด (Pellets) อาหาร

กล่องสกินเนอร์เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพสำหรับศึกษาว่าพฤติกรรมต่อเนื่องของสัตว์ สามารถดัดแปลงโดยเปลี่ยนแปลงผลพวงหลังจากกดแถบราว สกินเนอร์บอกว่าหนูเป็นสัตว์ทดลอง (Subjects) ที่เหมาะกับการวิจัยการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning)

เหตุผลก็คือ มันสามารถใช้อุ้งเท้าหน้า (Front paw) ในการจัดการ (Manipulate) กับวัตถุ เช่น แถบราว และมันมีแนวโน้มที่จะสำรวจ (Explore) สภาพแวดล้อม หมายความว่า ในที่สุด (Eventually) มันจะหาแถบราวเจอ, แล้วสัมผัส, หรือแม้กระทั่งกดมัน

สกินเนอร์อธิบายถึง 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขการกระทำที่หนูจะกดลงที่แถบราว เริ่มจากไม่ได้มีการให้อาหารหนูมาหลายชั่วโมง เพื่อจะให้มันกระตือรือร้นและมีแนวโน้มที่จะกินรางวัลที่เป็นอาหาร หนูที่หิวจะเดินไปทั่วไม่หยุดพัก (Restlessly) ดมกลิ่น (Sniff) ในทุกสิ่งที่พบ ต่อมาเป้าหมายคือการวางเงื่อนไขให้หนูกดลงแถบราว หนูจัดการ (Operate) บนพื้นฐานของสภาพแวดล้อมของมัน การตอบสนองนี้เรียกว่าการตอบสนองการกระทำ

สุดท้ายสกินเนอร์บอกว่าหนูที่ไร้เดียงสา (Naïve) จะไม่วิ่งเต้น (Waltz) และกดไปที่แถบ ในการวางเงื่อนไขให้หนูกดแถบราว สกินเนอร์จะใช้ขั้นตอน (Procedure) เรียกว่าการก่อร่าง (Shaping)

การก่อร่างเป็นขั้นตอนที่ผู้ทดลอง (Experimenter) เสริมแรงอย่างต่อเนื่อง (Successively) ซึ่งพฤติกรรมที่นำไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์ หรือใกล้เคียง (Approximate) พฤติกรรมดังกล่าว

ยกตัวอย่าง ถ้าพฤติกรรมที่ความต้องการคือการกดราว ต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่าการก่อร่างทำงานกันอย่างไร เริ่มต้นสกินเนอร์อยากก่อร่างโดยให้หนูหันหน้าเข้าแถบราว เขาเพียงวางหนูสีขาวข้างในกล่องสกินเนอร์, ปิดประตู, และดูหนูผ่านกระจกทางเดียว ตอนแรกหนูเดินไปมาด้านหลังกล่องและเมื่อมันหมุนตัวแล้วเห็นที่แถบราว สกินเนอร์ก็ปล่อยเม็ดอาหารที่มีเสียงเวลากระทบลงในถ้วย หนูได้ยินเสียงหล่นของเม็ดอาหารก็วิ่งไปที่ถ้วย แล้วดู, ดม, และกินเม็ดอาหาร

หลังจากหนูกินเม็ดอาหารแลว มันจะหมุนตัวและสำรวจกล่อง แต่เมื่อไหร่ที่หนูหันมาที่แถบราว สกินเนอ์ก็จะปล่อยเม็ดอาหารที่ 2 อีก แล้วมันก็จะมาทำเหมือนเดิม ซึ่งการก่อร่างนี้ดำเนินไปด้วยดี

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, August 8].
  3. B. F. Skinner - https://en.wikipedia.org/wiki/B._F._Skinner[2020, August 8].