จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 276: การวางเงื่อนไขการกระทำ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-276

      

การค้นพบพฤติกรรมการกระทำเกี่ยวโยงกับนักวิจัย (Researcher) 2 ท่าน ที่ทำงานอยู่คนละห้องทดลอง (Laboratory) และยังทำงานเกี่ยวกับปัญหาที่ต่างกัน เพื่อให้คุณสามารถชื่นชมความคิดที่นำไปสู่การวางเงื่อนไขการกระทำ ในตอนนี้เราจะพาเยี่ยมชมห้องทดลองของนักวิจัยทั้ง 2 ท่านนี้ กล่าวคือ อี แอล ทอร์นไดค์ (E. L. Thorndike) และ บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner)

อี แอล ทอร์นไดค์ เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้มีผลงานในด้านจิตวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative psychology) และด้านกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) ที่นำไปสู่ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism) และวางรากฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific foundation) ให้จิตวิทยาการศึกษา (Educational psychology)

นอกจากนี้ เขายังมีผลงานด้านการแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรม (Industrial) เช่น การสร้างแบบทดสอบพนักงาน (Employee test) และทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement theory) อีกด้วย

ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1800s ในห้องทดลองของ อี แอล ทอร์นไดค์ ซึ่งบุคคลที่สนใจเกี่ยวกับความฉลาดของสัตว์ (Animal intelligence) โดยเฉพาะในการวัด (Measuring) ความสามารถในการใช้เหตุผลของพวกมัน อันแตกต่างกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่สมมุติ (Assume) จากการสังเกตเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยว่าสัตว์เลี้ยงของตนนั้นฉลาด

ทอร์นไดค์คิดอุบาย (Devised) ที่เรียบง่ายแต่ฉลาดเพื่อการวัดความสามารถในการใช้เหตุผล ในหนทางที่เป็นเที่ยงตรง (Objective) มากขึ้น โดยเขาสร้างปริศนา (Puzzle) จากกล่องนานาชุด (Series of boxes) ซึ่งแมวสามารถหลบหนี (Escape) ได้ โดยการเรียนรู้การตอบสนองเฉพาะ เช่น การดึงเชือกหรือการกดที่แถบราว (Bar) ข้างนอกกล่องปริศนา อันมีรางวัลสำหรับการหลบหนีออกมาได้ (กล่าวคือ ชิ้นปลา)

ทอร์นไดค์วางแมวลงที่กล่องปริศนาแล้วจับเวลาที่แมวใช้ในการหลบหนี หลังจากที่ทอร์นไดค์ได้กราฟ (Graph) ข้อมูล (Data) เขาได้เห็นการค่อยๆ ลดลง (Gradual lessening) ของเวลาที่แมวต้องการใช้หลบหนีออกจากกล่องปริศนา ในการทดลองครั้งแรกแมวต้องใช้เวลามากกว่า 240 วินาทีเพื่อกดสลักหลบหนี (Latch) แต่การทดลองครั้งสุดท้ายแมวใช้เวลากดสลักหลบหนีน้อยกว่า 60 วินาที

ทอร์นไดค์อธิบายว่า การทดลองกระทำซ้ำๆ แมวใช้เวลามากขึ้นรอบๆ สลัก อันเพิ่มโอกาส (Chance) ในการค้นหาและกดสลัก แล้วเพิ่มเร็วขึ้นเพื่อหลบหนีออกมาเอารับรางวัล (กล่าวคือ ชิ้นปลา) เขาอธิบายว่า การสุ่ม (Random) พฤติกรรมลองผิดลองถูก (Trial-and-error) ค่อยๆ กลายเป็นพฤติกรรมพุ่งไปยังเป้าหมาย (Goal-directed behavior) ที่มีประสิทธิภาพขึ้น (Efficient)

ทอร์นไดค์ได้สร้าง (Formulate) กฎแห่งผล (Law of effect) ซึ่งกล่าวว่า พฤติกรรมที่ตามมาด้วยผลลัพธ์ (Consequences) ที่เป็นบวก (Positive) จะได้รับการสนับสนุนให้ทำอีก ในขณะที่พฤติกรรมที่ตามมาด้วยผลลัพธ์ที่เป็นลบ (Negative) จะไม่ได้รับการสนับสนุนให้ทำซ้ำ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, July 25].
  3. E. L. Thorndike - https://en.wikipedia.org/wiki/Edward_Thorndike [2020, July 25].