จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 274: การเรียนรู้เงื่อนไขการกระทำ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-274

      

มีภาพยนต์ฉีกแนว (Unusual) เรื่องหนึ่งชื่อ ‘’หมี” (The Bear) ที่น่าในใจมาก ด้วยเหตุผล (Reasons) 2 ประการ กล่าวคือ (1) มีบทพูด (Dialogue) น้อยมาก เพราะนักแสดงมนุษย์ (Actors) พูดเพียง 657 คำ และ (2) ดาราเอก (Star) ของเรื่องนี้พูดไม่ได้ เพราะไม่ใช่คน แต่เป็นหมีโคดี้ (Kodiak bear) สีน้ำตาลขนาดใหญ่ อายุ 12 ปี สูง 3.048 เมตร (Meter) และหนัก 816.47 กิโลกรัม (Kilogram) ชื่อบาร์ต (Bart)

บาร์ตเป็นสัตว์กินเนื้อ (Carnivores) ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในบรรดาสัตว์บก (Land-dwelling) การตวัด (Swipe) เพียงหนึ่งครั้งด้วยเท้าขนาดใหญ่ถึง 30.48 เซนติเมตร (Centimeter) สามารถทำลาย (Demolish) ทุกอย่างที่ขวางหน้ามันได้ ในภาพยนต์มีหมีตัวใหญ่ที่นั่งอย่างสงบ (Peacefully) บนสะโพก (Haunches) ของมัน โดยกำลังอุ้ม (Cradling) หมีน้อยทารกในอ้อมแขนของเขา คนทั่วไปอาจไม่ทราบว่า ในป่าปกติแล้ว หมีโคดี้จะฆ่าและกินลูกสัตว์เมื่อมันพบ (Encounter)

เนื่องจากบาร์ตถูกพบมาต้องแต่มันเป็นทารกและถูกเลี้ยงดูโดยครูฝึก (Trainer) บาร์ตโตมาเหมือนเป็นตุ๊กตาหมีเท็ดดี้ (Teddy) ขนาดใหญ่มากกว่านักฆ่าที่เกิดตามธรรมชาติ หน้าที่ของมันในภาพยนตร์ คือเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรม (Behavior) 45 อย่าง ตามหนทาง (Cue) ของมัน เช่น นั่ง, วิ่ง, ยืนขึ้น, คำราม (Roaring), และสิ่งที่ยากที่สุดคืออุ้มตุ๊กตาหมีเท็ดดี้ อันเป็นสิ่งที่หมีโตเต็มวัยไม่ทำกันในป่า

ขั้นตอนการฝึกดูเหมือนง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ (Deceptively) ทุกครั้งที่บาร์ตแสดงพฤติกรรมตามแนวทางครูฝึกชื่อ ดอง ซีอูส (Dong Seus) ซึ่งจะปฏิบัติกับมันด้วยความรักใคร่ (Affectionate) เช่น เกาหลัง (Back scratch), ถูหู (Ear rub), หรือให้แอปเปิ้ลหรือลูกแพร์ (Pear) ฉ่ำๆ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อครูฝึกยกแขนขึ้นสูงบนอากาศคือสัญญาณเพื่อบอกบาร์ตว่าต้องนั่งแล้วอุ้มตุ๊กตา หลังจากที่บาร์ตสามารถแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ถูกต้อง ดองก็จะให้รางวัลมัน

หลังจากที่บาร์ตสามารถเรียนพฤติกรรมพวกนี้กับตุ๊กตาหมีได้ ก็เอาลูกหมีมาเปลี่ยนแทน แล้วฉากนี้ก็ถูกถ่ายทำสำหรับภาพยนตร์ การที่บาร์ตเรียนรู้พฤติกรรม 45 อย่าง ผ่านการเรียนรู้ชนิดนี้เรียกว่าการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning)

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบาร์ตแสดงพฤติกรรมเฉพาะเช่น หยิบตุ๊กตาขึ้นมา ผลลัพธ์ที่ตามมา (Consequence) ก็คือได้รับรางวัลเป็นแอปเปิ้ล อันจะเพิ่มโอกาสที่จะทำให้บาร์ตหยิบตุ๊กตาขึ้นมาอีกครั้ง สิ่งที่มันเรียนรู้ผ่านเงื่อนไขการกระทำนี้ทำให้มันได้แสดงภาพยตน์ถึง 20 เรื่อง โดยเป็นนักแสดงสัตว์ที่ได้ค่าตัวแพงที่สุดในตอนนี้ (318,800 บาท/วัน) ซึ่งเป็นรายได้ที่เราหลายคนคงอยากใฝ่ฝัน

การวางเงื่อนไขการกระทำดูเหมือนตรงไปตรงมา (Straight-forward) คุณแสดงพฤติกรรมหรือปฏิบัติตามสภาพแวดล้อม (Environment) เช่นตั้งใจเรียน ผลลัพธ์จากการเรียนของคุณคือ คุณสอบได้คะแนนดี ซึ่งจะเพิ่มความเป็นไปได้ว่าคุณจะแสดงพฤติกรรมเดิม (ตั้งใจเรียน) ต่อในอนาคต

นอกจากการเรียนรู้โดยมีรางวัลหรือบทลงโทษสำหรับพฤติกรรมของคุณแล้ว คุณสามารถที่จะเรียนรู้โดยวิธีที่แตกต่าง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Operant conditioninghttps://en.wikipedia.org/wiki/Operant_conditioning[2020, July 11].