จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 273: ความเชื่อทำให้เราป่วยได้ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 5 กรกฎาคม 2563
- Tweet
คนที่รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของโอเลสตร้า (Olestra) ทุกมื้อ (Meals) เป็นเวลา 2 เดือนจะประสบ (Experience) ผลข้างเคียง (Side effect) มากกว่าคนที่รับประทานขนมที่มีส่วนผสมของโอเสตร้าวันละ 1 ถุง เพราะเมื่อเขาจะได้รับปริมาณ (Dose) ของโอเลสตร้ามากกว่า เขาจะประสบโอกาส (Chance) ที่มีผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์มากขึ้น
สาเหตุที่อาหารที่มีส่วนผสมของโอเลสตร้าไม่ถูกนำออกจากท้องตลาด ในขณะที่มีการรายงานว่าผู้บริโภคบางคนประสบผลข้างเคียงของการปวดท้อง (Stomach pain) และอุจจาระร่วง (Loose stools) เพราะประจักษ์หลักฐาน (Evidence) นั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่กล่าวอ้างรับรอง (Testimonials)
นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้สูง (Potential) ที่อาจจะเกิดความผิดพลาด (Error) และอคติ (Bias) จึงไม่สามารถเชื่อถือได้ (Reliable) และเรายังรู้ว่าความเชื่อ (Belief) ของคนเรามีอิทธิพลต่อการตอบสนอง (Responses) การใช้ยาหลอก (Placebos) และส่งผลให้เกิดประโยชน์หรือปัญหาทางกายภาพ (Physical benefit) ที่แท้จริง
การทดลองที่นักวิจัย (Researcher) และอาสาสมัคร (Volunteers) ที่เข้าร่วมทดลองไม่รู้ว่าตัวเองได้รับถุงมันฝรั่งทอดกรอบ (Potato chips) ประเภทไหน เรียกว่าขั้นตอนแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย (Double-blind procedure) ซึ่งนักวิจัยจะใช้ในการศึกษาประสิทธิภาพ (Effect) ของสารเคมีหรือยา
ในการวิจัย การอำพรางทั้งสองฝ่าย หมายถึงไม่ให้ทั้งผู้ที่เข้ารับการทดลอง (Subject) และนักวิจัยทราบว่า ได้รับวิธีการ (Treatment) แบบใด ขั้นตอนนี้จะช่วยลด (Reduce) ข้อผิดพลาดและความลำเอียงที่มาจากความเชื่อหรือความคาดหวัง (Expectation) ของผู้เข้ารับการทดลองหรือนักวิจัย
ดูเหมือนว่าตัวเลขดิบ (Raw numbers) จากการทดลอง ได้บ่งบอกว่า (Indicate) กลุ่มที่รับประทานมันฝรั่งทอดกรอบแบบธรรมดาจะได้รับผลข้างเคียงมากกว่ากลุ่มที่รับประทานขนมที่มีส่วนผสมของโอเลสตร้า แต่ไม่มีนัยสำคัญ เพราะนักวิจัยได้ใช้การทดสอบแบบสถิติ (Statistical test) แล้วพบว่าความแตกต่างดังกล่าว ไม่ได้เป็นเพราะการรับประทานโอเลสตร้าแต่อย่างเดียว แต่ค่อนข้างมีโอกาสมาจากปัจจัย (Factors) อื่นๆ ร่วมด้วย
สาเหตุที่ทำให้ความเชื่อ (Belief) หรือความคาดหวังของคน ได้สร้าง (Produce) ผลข้างเคียงทางกายภาพ เพราะคนส่วนใหญ่ประสบปัญหาทางกระเพาะอาหาร (Stomach problem) หลังจากรับประทานอาหารหลากหลายชนิด แล้วส่งผลต่อประเภทของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning) ที่เรียกว่า การการเรียนรู้หลีกเลี่ยงรสชาติ (Taste-aversion learning)
ในทำนองเดียวกัน ถ้าคนเราถูกบอกแล้วเกิดการคาดหวังหรือเชื่อว่าพวกเขาอาจประสบปัญหาทางกระเพาะอาหารหลังจากรับประทานมันฝรั่งทอดกรอบ (ทั้งแบบมีส่วนผสมของโอเลสตร้า หรือ แบบธรรมดา) ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งความเชื่อหรือความคาดหวังของพวกเขา อาจจะเป็นสิ่งที่สิ่งกระตุ้น (Trigger) หรือสร้างผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหารได้
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, July 4].