จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 271: การบรรเทาความรู้สึกอย่างเป็นระบบ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 21 มิถุนายน 2563
- Tweet
มิเชลได้เรียงการเขียนรายการของเธอเป็นลำดับชั้น ซึ่งลำดับจากความเครียด (Stressful) น้อยที่สุดไปถึงความเครียดมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่ทำให้เธอเครียดน้อยที่สุดคือการขับรถและเข้าไปในคลินิก และเหตุการณ์ที่ทำให้เธอเครียดหนักที่สุดคือการที่เธอมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน ตอนนี้เธอพร้อมที่จะไปสู่ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการจินตนาการ (Imagining) และการผ่อนคลาย (Relaxing) โดยมิเชล (Michelle) เริ่มจากการทำให้ตัวเธอให้อยู่ในสภาวะผ่อนคลายอย่างล้ำลึก (Deeply relaxed state) และจินตนาการอย่างชัดแจ้ง (Vividly) ถึงสถานการณ์ที่ทำให้เธอเครียดน้อยที่สุด ซึ่งเป็นเวลาที่เธอกำลังขับรถไปที่คลินิก
เมื่อไรที่เธอดูมีอาการวิตกกังวล (Anxious) หรือเครียด (Stress) ขึ้นมาเธอจะถูกสั่งโดยจิตแพทย์ ให้หยุดจินตนาการและทำให้เธอกลับสู่สภาวะผ่อนคลายอีกครั้ง เป็นการบรรเทาความรู้สึกอย่างเป็นระบบ (Systematic desensitization)
ในตอนที่เธอเข้าสู่สภาวะผ่อนคลายอย่างเพียงพอ (Sufficiently) เธอจะถูกสั่งโดยจิตแพทย์ให้กลับไปจินตนาการถึงเวลาที่เธอกำลังขับรถไปที่คลินิกอีกครั้ง เมื่อเธอสามารถจินตนาการเกี่ยวกับความเครียดที่ต้องขับรถไปที่คลินิกและยังคงสภาวะผ่อนคลายของตัวเธอเองได้ เธอก็จะจินตนาการถึงเหตุการณ์ความเครียดในลำดับต่อไปในลำดับชั้น (Anxiety hierarchy)
มิเชลจะจินตนาการไปทีละชั้นของ 8 สิ่งที่เธอเขียนรายการเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียด (Stressful stimuli) ในขณะเดียวกันเธอต้องคงสถาวะผ่อนคลายของตัวเธอเอาไว้ สัญญาณ (Sign) แรกที่มิเชลรู้สึกกระวนกระวายใจ เธอจะหยุดและพยายามทำให้ตัวเธอกลับสู่สภาวะผ่อนคลายอีกครั้ง
หลังจากที่มิเชลกลับสู่สภาวะผ่อนคลาย เธอก็จะกลับไปคิดถึงสถานการณ์ในรายการลำดับชั้นของความวิตกกังวล จนสามารถคงสภาวะผ่อนคลายในตัวเธอกับสถานการณ์ขั้นที่ 8 เมื่อมิเชลสามารถเชื่อมโยงความผ่อนคลายกับสถานการณ์ความเครียดในทุกลำดับชั้นได้ เธอจึงได้พิชิตหรือกลับเงื่อนไข (Counter-conditions) ของทุกสิ่งเร้าที่อยู่ในลำดับชั้นของความวิตกกังวลทั้ง 8 ขั้น ที่เธอได้เขียนรายการเอาไว้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการบรรเทาความรู้สึกอย่างเป็นระบบ ใช้การผ่อนคลายเพื่อขจัดความรู้สึกเครียดและวิตกกังวล ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ถูกเขียนในลำดับชั้นของเธอ
การบรรเทาความรู้สึกนี้ ได้กลายเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพในการนำมารักษาความกลัว และพฤติกรรมการสร้างความวิตกกังวล (Anxiety-producing behavior) ได้หลายรูปแบบรวมไปถึงเงื่อนไขของการคลื่นไส้ (Conditioned nausea) และการกลัวเลือด (Fear of blood), การฉีดยา (Injection), การกลัวงู, และการพูดต่อหน้าสาธารณชน สรุปแล้วการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคเป็นสิ่งสำคัญมาก (Considerable) ที่มีอำนาจส่งผลไปยังความคิด, อารมณ์, และพฤติกรรมต่างๆ ในตัวคน
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, June 20].