จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 261: ประยุกต์ใช้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-261

      

เควิน (Kevin) วัยรุ่นชายคนนี้เป็นโรคบกพร่องในการอ่าน หรือ โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) และกำลังได้รับการทดสอบด้วยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioned) ของการตอบสนองด้วยการกระพริบตา (Blink)

เขาสวมอุปกรณ์บนหัวซึ่งจะปล่อยเสียง (สิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข [Conditioned stimulus]) ตามด้วยการพ่นลม (สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข [Unconditioned stimulus]) ซึ่งจะทำให้เขาตอบสนองด้วยการกระพริบตา (การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข [Unconditioned Response])

การทดสอบโดยการใช้ขั้นตอนของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนี้ 90% ของผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคดิสเล็กเซีย เรียนรู้ที่จะกระพริบตาเพียงแค่ได้ยินเสียง (การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข) ก่อนที่ลมจะถูกเป่าออกมา อย่างไรก็ตาม จากการทดลองแบบเดียวกันกับเควิน เขาไม่ได้กระพริบตาหลังจากที่ได้ยินเสียงแค่อย่างเดียว (การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข)

นั่นหมายความว่าการตอบสนองด้วยการกระพริบตาอาจไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ถ้าผลลัพธ์นี้สามารถนำไปทดลองใหม่ได้อีกครั้ง การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของการตอบสนองด้วยการกระพริบตาอาจวินิจฉัยโรคดิสเล็กเซียของเด็กๆ ได้ ซึ่งจะช่วยให้รักษาโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

จากตัวอย่างเหล่านี้ เราจะเห็นว่าการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนี้ สามารถช่วยเหลือมนุษย์และสัตว์ให้อยู่รอดได้ และสามารถประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อมของพวกเขา การดึงการตอบสนองจากอารมณ์ หรือแม้กระทั่งการวินิจฉัยโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) ได้อีกด้วย

ในอันดับต่อไป เราจะมาดู “หัวใจ” ของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค และมาอธิบายถึงการทำงานของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค โดยตอบคำถามว่า เราเกิดอาการน้ำลายไหล (Salivate) ตอนนึกถึงพิซซ่า (Pizza) หรือไม่?

แม้ว่าส่วนใหญ่ พวกเราจะมีประสบการณ์น้ำลายไหล เมื่อนึกถึงหรือมองเห็นอาหารที่ชอบ เช่น พิซซ่า นักวิจัย (Researcher) ก็ได้อธิบายถึงความแตกต่างของสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ด้วย 3 ทฤษฎี (Theories) อันได้แก่ ทฤษฎีการทดแทนของสิ่งเร้า (Stimulus substitution), ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Contiguity theory), และแนวคิดด้านการรับรู้ (Cognitive perspective) ซึ่งจะมีคำอธิบายที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับอาการน้ำลายไหลของคนเราเพียงแค่เห็นหรือนึกถึงพิซซ่าแสนน่าอร่อยเท่านั้น

พร้อมทั้งตอบคำถามที่ว่า เสียงกระดิ่งเข้ามาแทนที่อาหารหรือไม่?

ในคำอธิบายแรกของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่มาจากนักจิตวิทยา ปัฟลอฟ (Pavlov) ผู้ซึ่งอธิบายถึงเหตุผลที่สุนัขเกิดอาการน้ำลายไหล (Salivate) เพียงแค่ได้ยินเสียงกระดิ่ง นั่นทำให้เสียงกระดิ่งเข้ามาเป็นสิ่งเร้าแทนที่อาหาร ทฤษฎีนี้จึงถูกเรียกว่า การทดแทนของสิ่งเร้า

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, April 11].
  3. Dyslexia - https://en.wikipedia.org/wiki/Dyslexia [2020, April 11].