จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 259: วางเงื่อนไขแบบอื่นๆ (5)
- โดย ปานชนก แก้วจินดา
- 29 มีนาคม 2563
- Tweet
สัตว์บางชนิดวิวัฒนาการระบบการลิ้มรสที่รังเกียจ (Taste-Aversion System) ของตนเอง เพื่อช่วยให้พวกมันสามารถเอาชีวิตรอดได้จากนักล่าที่อันตราย ยกตัวอย่างเช่นนกบลูเจย์ (Bluejay) ที่กินผีเสื้อเป็นอาหาร แต่พวกมันเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยง (Avoid) ผีเสื้อจักรพรรดิ (Monarch butterfly) ซึ่งมีลายปีกที่โดดเด่น (Distinctive)
แต่ความไร้เดียงสา (Naive) ของนกบลูเจย์ เป็นข้อเท็จจริงที่น่าเศร้า เพราะผีเสื้อจักรพรรดินั้นมีสารเคมีชนิดหนึ่งที่หากนกกินเข้าไปแล้ว นกจะรู้สึกไม่สบาย จากการลิ้มรสที่รังเกียจนี้ นกบลูเจย์ เรียนรู้ว่าการเห็นลายที่โดดเด่นของผีเสื้อจักรพรรดิ จะคาดเดาได้ว่าตนเองจะรู้สึกไม่สบายขึ้นมา ดังนั้นนกบลูเจย์จึงหลีกเลี่ยงการกินผีเสื้อจักรพรรดิ
นอกจากผีเสื้อจักรพรรดิแล้ว สัตว์หลายๆ ชนิดก็วิวัฒนาการให้ตนเองมีลายที่โดดเด่นขึ้นมา จากการเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรส (Taste-Aversion Learning) กลายมาเป็นสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus) ซึ่งคอยเตือนผู้ล่าถึงความอันตรายในตัวพวกมันเอง ในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) การลิ้มรสที่น่ารังเกียจนี้กลายเป็นตัวแปรในการเอาชีวิตรอดของสัตว์ต่างๆ
ในทางตรงกันข้าม ของที่มีรสชาติดีก็สามารถทำให้มนุษย์เกิดการตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้เช่นกัน
ในครั้งต่อไปที่เราไปที่ร้านอาหาร, อ่านเมนู, คิดถึงอาหารที่จะสั่ง, และมองดูผู้คนรับประทานอาหาร เราจะเริ่มสังเกตว่าเราเกิดอาการน้ำลายไหล (Salivate) ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้ทานอาหารเข้าไปเลยด้วยซ้ำ
เหตุการณ์นี้คล้ายกับกรณีของสุนัขในการทดลองของปัฟลอฟ (Pavlov) ซึ่งเกิดอาการน้ำลายไหล (Salivate) หลังจากที่ได้ยินเสียงกระดิ่ง (Bell) เรามักจะเกิดอาการน้ำลายไหล เพียงแค่นึกถึง, จินตนาการ, ดมกลิ่น, หรือมองเห็นอาหาร นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความหลากหลายของสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimuli) เช่น การถือเมนู, การอ่านเมนู, การมองดูผู้คนรับประทานอาหาร. การมองดูอาหาร, และการจินตนาการถึงอาหาร กลายมาเป็นสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus) ซึ่งก่อให้เกิดการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response) คืออาการน้ำลายไหล (Salivate) นั่นเอง
อาการน้ำลายไหล (Salivation) เป็นการตอบสนองที่ปกติแล้วจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีอาหารอยู่ในปาก โดยวัตถุประสงค์ (Purpose) ของอาการน้ำลายไหล (Salivation) คือ ทำให้เกิดการหลั่งน้ำลายหล่อลื่น (Lubricate) ในปากและลำคอเพื่อให้เคี้ยวและกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นจึงเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ที่มีอาการน้ำลายไหล (Salivation) เพียงแค่เห็นเมนูเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นี่เป็นตัวอย่างถึงการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคอันมีเป็นคุณที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Value) ในกรณีนี้เป็นการช่วยระบบการย่อยอาหาร (Digestive) ในมนุษย์และสัตว์ ต่อไปเราจะมาอธิบายถึงทำไมการตอบสนองทางอารมณ์ถึงกลายเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, March 28].