จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 258: วางเงื่อนไขแบบอื่นๆ (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-258

      

นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จอห์น การ์เซีย (John Garcia) ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากงานวิจัยเรื่อง การเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรส (Taste-Aversion Learning) แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้ในการทดลองเพียงแค่ครั้งเดียว ที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่านั้นคือ . . .

แม้จะผ่านไปเป็นเวลายาวนาน (เป็นนาทีจนถึงเป็นชั่วโมง) ของสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) หรือก็คือการดมหรือลิ้มรส และการการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Response) หรือก็คือการเจ็บไข้หรือการอาเจียน ก็ยังคงเกิดขึ้นได้ แม้ว่าในตอนแรกการ์เซียจะไม่เชื่อเลยก็ตาม แต่ตอนนี้เขาสามารถยืนยันได้แล้วว่าการเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรส นั้นเป็นรูปแบบเฉพาะของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)

อีกสิ่งที่น่าสนใจในการค้นพบนี้คือหนูที่มีสายตาที่แย่ (Poor vision) แต่การรับรสและกลิ่นเป็นเลิศ จะรับรู้ถึงความรังเกียจ (Aversion) ได้ง่ายกว่ากับสิ่งเร้าที่มีกลิ่นและรสเป็นตัวชี้นำ (Cues) และจะรับรู้ได้น้อยเมื่อเจอกับสิ่งเร้าที่มีแสงเป็นตัวชี้นำ ตัวอย่างที่คล้ายกันก็คือนกคุ่ม (Quails) ซึ่งมีประสาทการรับกลิ่นที่แย่ (Poor Olfaction) แต่มีการมองเห็นที่ดีเยี่ยม จะรับรู้ถึงความรังเกียจดังกล่าว ได้ง่ายกว่ากับสิ่งเร้าที่มีการมองเห็นเป็นตัวชี้นำ

การ์เซียสรุปว่า สิ่งเร้าทั้งหมดไม่จำเป็นต้องมีโอกาส (Potential) เหมือนกันเพื่อที่จะกลายเป็นสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus) การค้นพบนี้ท้าทายความเชื่อที่มีมานานเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคอย่างมาก สิ่งเร้าทั้งหมด (ในรูปแบบกลิ่น, รส, ภาพ, เสียง) มีโอกาสเท่ากันทั้งหมดที่จะกลายเป็นสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus) การ์เซียค้นพบว่าสิ่งเร้าบางอย่างที่กลายเป็นสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไขง่ายกว่าสิ่งเร้าอื่นๆ นั้น เขาเรียกว่า การเตรียมพร้อม (Preparedness)

ความคิดเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมนั้น หมายถึงความแตกต่างของสัตว์ถูกเตรียมพร้อมไว้เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันซึ่งสำคัญต่อการเอาชีวิตรอดและการปรับตัวของพวกมัน ยกตัวอย่างเช่น การ์เซีย และคณะ ประยุกต์ความรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมและการเรียนรู้จากความรังเกียจลิ้มรสเข้าด้วยกันกับปัญหาแกะที่ถูกฆ่าโดยหมาป่า (Covote)

พวกเขาวางเหยื่อล่อไว้ที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นเนื้อแกะ (Sheep flesh) ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมี (Laced with chemical) จนทำให้หมาป่ารู้สึกคลื่นไส้และไม่สบาย ผลลัพธ์ก็คือ หมาป่าได้ลิ้มรสที่น่ารังเกียจ (Taste Aversion) เข้าไป จนสามารถลดอัตราการฆ่าแกะไปได้ 30%-60% การค้นพบเหล่านี้ทำให้รู้ว่าการเรียนรู้จากความรังเกียจการลิ้มรส สามารถเป็นประโยชน์ให้แก่คนเลี้ยงแกะได้เช่นกัน

ต่อไปเราจะพูดถึงตัวอย่างของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค โดยอ้างอิงถึง นกบลูเจย์ (Bluejay) ซึ่งเป็นนกแถบอเมริกาเหนือ มีขนสีฟ้า) ว่าสามารถหลีกเลี่ยงผีเสื้อ (Butterfly) ได้จริงหรือไหม?

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, March 14].
  3. John Garcia - https://en.wikipedia.org/wiki/John_Garcia_(psychologist) [2020, March 14].