จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 254: วางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (4)
- โดย ปานชนก แก้วจินดา
- 23 กุมภาพันธ์ 2563
- Tweet
การตอบสนองที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned response: UCR) คือการที่คลาร่า รู้สึกกังวล ซึ่งเป็นการผสมกัน (Combination) ในการตอบสนองทางร่างกาย (Physical reflex) ตัวอย่าง เช่นการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate), ความดันโลหิต (Blood pressure), และการหายใจอย่างรวดเร็ว (Rapid breathing)
นอกจากนี้ยังมีการตอบสนองในทางลบด้านอารมณ์ (Emotional reaction), UCR ของคลาร่า (ซึ่งก็คือความรู้สึกกังวลและเครียด) ถูกดึงออกมาด้วยสิ่งเร้าที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned stimulus: UCS) (ซึ่งก็คือความเจ็บปวดจากการทำฟัน)
ขั้นตอนที่ 2 - สร้างการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical conditioning: CC) โดยการทดสอบ (Trial) การกระตุ้นสิ่งเร้าที่ เป็นกลาง (Neutral stimulus: NS) ให้เกิดขึ้นก่อน แล้วตามด้วย UCS ในกรณีของคลาร่า NS คือการได้กลิ่นน้ำยาหลังโกนหนวดของหมอฟันขณะที่เธอกำลังรู้สึกเจ็บปวดจากการทำฟันอยู่
การไปพบหมอฟันหลายๆ ครั้ง ของคลาร่านั้น มีการฉีดยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระตุ้น NS ครั้งแล้วครั้งเล่าของการได้กลิ่นน้ำยาหลังโกนหนวดของหมอฟัน และต่อมาเป็นผลทำให้เกิด UCS ซึ่งก็คือ การเกิดความเจ็บปวดขณะทำฟันนั่นเอง
ความเจ็บปวดที่ว่านั้นทำให้เกิด UCR (ซึ่งก็คือความรู้สึกกังวลและเครียด) เหมือนกับ การเกิดการตอบสนองทางร่างกายอื่นๆ เช่นการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นหัวใจ, ความดันโลหิต, และการหายใจเร็ว
ขั้นตอนที่ 3 หรือสุดท้าย - ทดสอบการวางเงื่อนไข เพื่อสังเกตว่าการสิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned stimulus: CS) เพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดการตอบสนองแบบถูกวางเงื่อนไข (Conditioned response: CR) หรือไม่? CS ก็คือเมื่อคลาร่า ได้กลิ่นน้ำยาหลังโกนหนวดจากเพื่อนชายของเธอซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกันกับหมอฟัน เธอจะรู้สึกกังวลและเครียด
กลิ่นของน้ำยาหลังโกนหนวดตอนแรกเป็น แค่ NS แต่ต่อมากลายมาเป็น CS เพราะมันทำให้เกิดอาการกังวลและเครียดและเกิดการตอบสนองแบบถูกวางเงื่อนไข (Conditioned response: CR)
ทุกครั้งที่คาร์ล่าได้กลิ่นน้ำยาหลังโกนหนวด เป็น CS เพราะทั้งหมอฟันและเพื่อนชายของเธอนั้นใช้น้ำยาหลังโกนหนวดเดียวกัน ทำให้เกิด CR ซึ่งก็คือการรู้สึกกังวลและเครียด อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่า CR นั้นดูเหมือนคล้ายกับ NCR แต่เข้มข้น (Intensity) น้อยกว่า ดังนั้นความกังวลและความเครียดที่เกิดจากน้ำยาหลังโกนหนวด ทีดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ก็จะไม่รุนแรงเท่ากับความเจ็บปวดระหว่างขั้นตอนการทำฟัน
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, February 22].