จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 250: ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (5)
- โดย ปานชนก แก้วจินดา
- 26 มกราคม 2563
- Tweet
ขณะนี้คือทศวรรษ 1960s และเรากำลังอยู่ในห้องทดลอง (Laboratory) ของอัลเบิร์ต แบนดูร่า (Albert Bandura) สถานที่ที่เด็กๆ กำลังดูภาพยนต์ที่มีผู้ใหญ่กำลังตีและเตะตุ๊กตาพลาสติกตัวใหญ่อยู่ ครั้งแล้วครั้งเล่า (Repeatedly) หลังการดูภาพยนตร์แล้ว เด็กจะถูกเฝ้ามอง (Observed) ระหว่างการเล่น
แบนดูร่าค้นพบว่าเด็กๆ ที่ดูภาพยนตร์ที่ผู้ใหญ่แสดงแบบอย่าง (Modeling) ด้วยพฤติกรรมรุนแรง (Aggressive) จะมีนิสัยการเล่นที่รุนแรงกว่าเด็กที่ไม่ได้ดูภาพยนต์ นิสัยเด็กๆ นั้นเปลี่ยนไปในทางที่รุนแรงขึ้นในการตอบสนอง (Response) โดยดูเหมือน (Seem) ว่า จะมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสะท้อนกลับแบบมีเงื่อนไข (Conditioned reflex) ของอีวาน ปัฟลอฟ (Ivan Palov) และกฏแห่งผลกระทบ (Law of effect) ของเอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์ (Edward Thorndike)
แต่ในกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมด (Entire) ดูเหมือน (Appear)จะ เกิดขึ้นในความคิดของเด็กๆ โดยไม่ต้องกระทำ (Perform) การตอบสนองที่สังเกตเห็นได้ (Observable response) หรือไม่ต้องตั้งรางวัลที่สังเกตเห็นได้ (Noticeable reward) กระบวนการเรียนรู้ทางจิตนี้ (Mental learning process) นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้แบบรับรู้ (Cognitive learning) ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่ที่เริ่มต้นในทศวรรษ 1960s
การเรียนรู้แบบรับรู้ เป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของจิตใจเช่น สมาธิ (Attention) และความทรงจำ (Memory) โดยอาจจะเป็นการเรียนรู้ผ่านการสังเกต (Observation) หรือเลียนแบบ (Imitation) และอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับรางวัลตอบแทนจากภายนอก (External reward) หรือให้รางวัลแก่พฤติกรรมที่สังเกตได้ (Observable behavior) การศึกษาของแบนดูร่าแสดง (Demonstrate) ให้เห็นถึงหลักการ (Principle) แบบที่ 3 ของการเรียนรู้ ซึ่งโดยเนื้อแท้ (Essential) แล้วส่วนใหญ่จะเรียนรู้ ผ่านจากการสังเกตหรือการเลียนแบบ
สรุปแล้ว การวางเงื่อนไขในทางจิตวิทยา เป็นกระบวนการของพฤติกรรมซึ่งการตอบสนองเกิดบ่อยขึ้น (More frequent) หรือพยากรณ์ได้มากขึ้น (More predictable) ในสภาพแวดล้อมหนึ่งซึ่งเป็นผลจากการตอกย้ำ (Reinforcement) โดยที่การตอกย้ำมักเป็นสิ่งกระตุ้นหรือรางวัลสำหรับการตอบสนองที่พึงปรารถนา ในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 นักจิตวิทยาในรัสเซีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาหัตถการ (Procedure) ข้อสังเกต (Observation) และนิยาม (Definition) ของการวางเงื่อนไข หลังทศวรรษ 1920s นักจิตวิทยาได้แปลงผลงานวิจัยเป็นลักษณะ (Nature) ที่จำเป็นต้องมี (Pre-requisites) ของการวางเงื่อนไข
ต่อไปเราจะกลับไปที่ห้องทดลองของอีวาน ปัฟลอฟ และไปสำรวจการทดลองที่มีชื่อเสียง (Famous) ของเขากัน
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Conditioninghttps://www.britannica.com/science/conditioning [2020, January 25].