จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 237: กัญชา (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 ตุลาคม 2562
- Tweet
ในปี ค.ศ. 1997 สถาบันกลางทางการแพทย์ (Federal Institute of Medicine) ได้ออกรายงานการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค ซึ่งได้แก่การบรรเทา (Easing) ความปวด และลดอาการคลื่นเหียน (Nausea)
ในปีเดียวกัน สถาบันการเสพติดยาแห่งชาติ (National Institutes on Drug Abuse) ลงความเห็นว่า กัญชาแสดงศักยภาพในการรักษาอาการคลื่นเหียนและอาเจียน (Vomit) ที่สัมพันธ์กับเคมีบำบัด (Chemo-therapy), การรักษาการขาดความกระหาย (Appetite loss) ในผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS), และการรักษาโรคต้อหิน (Glaucoma)
จากรายงานเหล่านี้ รัฐอลาสกา อริโซนา แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด้ ฮาวาย เมน เนวาดา ออเรกอน และวอชิงตัน ได้ผ่านกฎหมายที่ยอมให้เสพกัญชาได้ แต่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (Prescription) และใช้เพื่อแก้ปัญหาทางการแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกฎหมายรัฐบาลกลาง (Federal law) สั่งห้ามเสพกัญชา แต่ความขัดแย้ง (Conflict) ระหว่างรัฐบาลกลางกับแต่ละรัฐยังไม่สามารถตกลงกันได้ (Settled)
สาร THC (=Tetra-hydro-cannabinol) ในกัญชา (Cannabis or marijuana) จะถูกดูดซึม (Absorbed) อย่างรวดเร็วเข้าไปในปอด (Lung) และในเวลาเพียง 5 – 10 นาที จะสร้างความรู้สึก “ตัวลอย” (Getting high) เป็นเวลาหลายชั่วโมง ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปริมาณ (Dose) ที่เสพ กล่าวคือ ปริมาณต่ำ จะสร้างความรู้สึกสบาย (Euphoria) น้อย
ปริมาณปานกลาง ก็จะสร้างความรู้สึกหยั่งเห็น (Perceptual) และเวลา (Time) ที่ผิดเพี้ยน (Distortion) และในปริมาณสูง ก็จะสร้างความรู้สึกประสาทหลอน (Hallucination), ความหลงละเมอ (Delusion), และความผิดเพี้ยนของภาพร่างกาย (Body image) กัญชาอาจเพิ่ม (Heighten) หรือบิดเบือนประสบการณ์ อารมณ์ หรือความรู้สึกที่น่ารื่นรมย์ (Pleasant) หรือไม่น่ารื่นรมย์ ขึ้นอยู่กับสภาวะทางจิตของผู้เสพ
ในปี ค.ศ. 1964 กลุ่มนักวิจัยได้สังเคราะห์ (Synthesized) THC ซึ่งเป็นสาร (Substance) สำคัญที่แปลงจิต (Mind-altering) ในกัญชา ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 กลุ่มนักวิจัยได้ค้นพบ (Discover) ตัวรับเฉพาะ (Specific receptor) สำหรับสาร THC ในสมองของหนูทดลอง และมนุษย์
ตัวรับดังกล่าวมีตำแหน่งอยู่ (Located) ไปทั่ว (Throughout) สมอง รวมทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำระยะสั้น, เปลือกสมอง (Cerebral cortex) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของการรับรู้ในระดับสูง (High cognitive function), ระบบซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์, และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเคลื่อนไหว (Motor control) เวลา และการประสานงาน (Coordination)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Cannabishttps://en.wikipedia.org/wiki/Cannabis_(drug)[2019, October 26].