จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 235: การดื่มแอลกอฮอล์ต่างวัฒนธรรม (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-235

      

      คำตอบสำหรับคำถามแรก คืออัตราการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ต่างกันในต่างวัฒนธรรม จากอัตราต่ำเพียง 0.5% ในบรรดาชาวไต้หวัน เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราสูงถึง 22% ในบรรดาชาวเกาหลี ในขณะที่ชาวจีนมีอัตรา 7% ชาวเยอรมัน 13% ชาวอเมริกัน 14% และชาวแคนาดา 18%

      คำถามที่ 2 ได้รับการตอบเพียงบางส่วน ตัวอย่างเช่น อัตราสูงของการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังในชาวเกาหลีนั้น เกือบทั้งหมดเป็นผู้ชาย ซึ่งได้รับการส่งเสริม (Encourage) ด้วยแรงกดดันทางวัฒนธรรมให้ดื่มจัด (Heavy drink) ในสถานการณ์ทางสังคม ในบางโอกาส อาทิ เย็นวันศุกร์ เมื่อผู้ทำงานมักได้รับการส่งเสริมให้ดื่มแข่งกัน (Drinking contest)

      อัตราปานกลางของการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังในประเทศเยอรมัน สหรัฐอเมริกา และแคนาดา มีความสัมพันธ์กับความเครียด (Stress) ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอุตสาหกรรม (Industrialized societies) ส่วนอัตราการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังที่ต่ำกว่าถัวเฉลี่ยในประเทศจีนและไต้หวัน เกิดจากอิทธิพลของกฎเกณฑ์คุณธรรมของขงจื๊อ (Confucian moral code) ซึ่งมีข้อห้าม (Taboo) การแสดงพฤติกรรมมึนเมาในที่สาธารณะ

      การค้นพบเหล่านี้ แสดงถึงปัจจัยเสี่ยงทางวัฒนธรรมที่อาจส่งเสริมหรือกีดกัน (Discourage) การวิวัฒนาโรคพิษสุราเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจะต่างกันในต่างวัฒนธรรม จาก 0.5% ถึง 22% แต่ก็มีความเหมือนที่โดดเด่น (Striking similarities) ดังต่อไปนี้

  • อายุเฉลี่ย เมื่อปรากฏกลุ่มอาการโรคพิษสุราเรื้อรังเป็นครั้งแรก คือช่วงต้นหรือกลางของวัยอายุ 20 ปี
  • ปัญหาหนักในชีวิตของผู้ดื่มแอลกอฮอล์จัด เฉลี่ยแล้วมี 4 - 6 ข้อ
  • ช่วงเวลาเฉลี่ยของผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังคือ 10 ปี
  • รูปแบบ (Pattern) เฉลี่ยของการดื่ม คือการดื่มจัดทุกวันวันละ 1 ลิตร
  • ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง 5 เท่าของผู้หญิง
  • ผู้ดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed) ว่าเป็นโรคซึมเศร้า (Depression) มากกว่าผู้ไม่ดื่ม
  • โดยภาพรวม (Overall) แล้ว อัตราการตายจากโรคพิษสุราเรื้อรังไม่ต่างกันในต่างวัฒนธรรม
  •       นักวิจัยสรุปว่า ปัจจัยทางวัฒนธรรมมีผลกระทบน้อยต่อ (1) การวิวัฒนากลุ่มอาการ (2) ความแตกต่างทางเพศ และ (3) ความบกพร่องทางจิต (Mental disorder) ที่สัมพันธ์กับแอลกอฮอล์

          

    แหล่งข้อมูล:

    1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
    2. Alcohol - https://en.wikipedia.org/wiki/Alcohol [2019, October 12].