จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 229: สารหลอนประสาท (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 1 กันยายน 2562
- Tweet
ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990s และต้นคริสต์ทศวรรษ 2000s ยาเอ็คสตาซี่ (Ecstasy) หรือ เอ็มดีเอ็มเอ (MDMA = Methylenedioxymethamphetamine) ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 10% ถึง 40% ของบรรดาวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่วัยต้น ต่างได้เคยเสพยานี้มาก่อน โดยยาตัวนี้เป็นทางเลือก (Drug of choice) ของงานสังสรรค์เพ้อคลั่ง (Rave party) ที่มีรูปแบบของดนตรีและการเต้นรำตลอดคืน
เนื่องจากการครอบครองหรือเสพ MDMA เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 จึงไม่มีการทำวิจัยในเรื่องนี้มากนัก ข้อมูลที่มีอยู่ก็เชื่อถือไม่ค่อยได้ในเรื่องผลกระทบ และอันตราย อันที่จริง MDMA คล้าย (Resemble) ทั้งเมสคาลีน (Mescaline) ซึ่งเป็นสารหลอนประสาท (Hallucinogen) และคล้ายยาบ้า (Amphetamine)
ในรายงานเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย (Anecdotal) ผู้เสพอ้างว่า MDMA เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในการหยั่งเห็น (Visual perception) และเพิ่มการรับรู้ของอารมณ์ความรู้สึกใกล้ชิด (Intimacy) หรือ “ยากอด” (Hug drug) ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เนื่องจากมันลดการยับยั้ง (Inhibition) ลง บางคนจึงถือว่าเป็นยากระตุ้นทางเพศ (Anphrodisiac)
งานหลักของ MDMA คือทั้งปล่อย (Release) และทั้งขัดขวาง (Block) ตัวรับ (Receptor) ซึ่งมักสนองตอบตามปรกติต่อสารสื่อประสาท (Neuro-transmitter) ที่ชื่อ “เซโรโทนิน” (Serotonin) แต่รายงานที่น่ากังวลก็คือ การพบในการทดลองกับสัตว์ว่า MDMA ในปริมาณ (Dose) มาก จะทำให้เซโรโทนินที่มีอยู่ลดลง 30% และอาจทำลายเซลล์ประสาทเซโรโทนิน นักวิจัยสรุปว่า ไม่ควรแนะนำ (Inadvisable) การเสพ MDMA จนกว่าจะมีการศึกษาถึงผลกระทบจากพิษ (Toxic effect) ต่อเซลล์ประสาท
การเสพในประมาณเล็กน้อยเพื่อความบันเทิง (Recreational) อาทิ “การท่อง” (Trip) ไปกับ MDMA อาจยาวนาน 6 ชั่วโมง ซึ่งจะประสบกับความรู้สึกสบาย (Euphoria), กรามบีบแน่น (Jaw clenching), ฟันถูกกรอ (Teeth grinding), นอนไม่หลับ (Insomnia) และพลังมหาศาล (High energy)
นอกจากนี้ ผู้เสพในปริมาณมาก อาจประสบกับการแตกตื่น (Panic), อัตราหัวใจเต้นแรง, ความหวาดระแวง (Paranoia) และกลุ่มอาการคล้ายโรคจิต (Psychotic-like) การเสพ MDMA เป็นเวลายาวนอน (Prolonged) กล่าวคือ 1 สัปดาห์หรือกว่านั้น ส่งผลให้เกิดความสบสน (Confusion), เหนื่อยล้า (Fatigue), โรคซึมเศร้า (Depression) และคลื่นไส้ (Nausea) การศึกษา MDMA ในสัตว์แสดงผลทำลายเซลล์ประสาทเซโนโทนิน แต่นักวิจัยก็ยังไม่แน่ใจในการประยุกต์ใชการค้นพบนี้กับมนุษย์
อนึ่ง ยามีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psycho-active) ที่ใช้กันแพร่หลาย และอาจเป็นอันตรายมาก แต่ถูกกฎหมายก็มีเหมือนกัน
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Hallucinogen - https://en.wikipedia.org/wiki/Hallucinogen [2019, August 31].