จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 228: สารหลอนประสาท (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-228

      

      ในปริมาณ (Dose) สูง “เมสคาลีน” (Mescaline) สามารถสร้างการเห็นประสาทหลอนอย่างชัดแจ้ง (Vivid hallucination) อาทิ โครงตาข่าย (Latticework), ภาพใยแมงมุม (Cobweb figure), อุโมงค์ (Tunnel), และขดเกลียว (Spiral) ซึ่งปรากฏในหลากหลายสี และความสว่างเข้มข้น (Intense brightness) เมสคาลีน ไม่ทำให้ภูมิปัญญา (Intellect) เสื่อมถอย (Impair) หรือไม่ทำให้จิตสำนึกเลือนลาง (Cloud unconsciousness)

      เช่นเดียวกับสารหลอนประสาท (Hallucinogen) ส่วนมาก สภาวะ (Setting) ทางจิตวิทยาของผู้เสพมีอิทธิพลต่อประสบการณ์ เมสคาลีนจะเข้าถึงความเข้มข้นสูงสุด (Maximum concentration) ในสมองประมาณ 30 – 120 นาที หลังจากที่กินเม็ด (Button) ตะบองเพชร “เพโยติ” (Peyote)

      เมสคาลีน มักเพิ่มกิจกรรมของสารสื่อประสาท (Neuro-transmitter) โนเรพินอีไฟรน์ (Norepinephrine) และ โดพาไมน์ (Dopamine) นอกจากนี้ เมสคาลีนกระตุ้น (Activate) ระบบประสาทอัตโนมัติ (Sympathetic nervous system) เพื่อผลิตสิ่งกระตุ้น (Arousal) ทางจิตวิทยา อาทิ อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิ และบางครั้ง อาเจียน (Vomit)

      ประสบการณ์เมสคาลีน ซึ่งอาจยาวนานถึง 6 – 8 ชั่วโมง ผู้เสพจะรู้สึกปวดศีรษะและอาเจียน เมื่อได้วิเคราะห์ตัวอย่างจากคนเดินถนนทั่วไป (Street sample) ในนครใหญ่ๆ นักวิจัยพบว่า เมสคาลีน มิใช่สารประสาทหลอน (Hallucinogen) ที่เสพกันมาก แต่เป็นสารเคมีตัวอื่น อาทิ LSD หรือ PCP (= Phencyclidine)

      ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980s มีสารหลอนประสาทปรากฏขึ้นในท้องตลาด เรียกว่า “ยานักออกแบบ” (Designer drug) ซึ่งได้รับการผลิต (Manufactured) หรือสังเคราะห์ (Synthetic) ตามแบบ หรือ คล้าย (Resemble) ยามีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psycho-active) ที่มีอยู่แล้วแต่ผิดกฎหมาย และเพื่อผลิตหรือเลียนแบบ (Mimic) ผลกระทบของฤทธิ์ต่อจิตประสาท

      ตัวอย่างเช่น “ยานักออกแบบ” สามารถเริ่มต้นด้วยโมเลกุล (Molecule) ของแอมฟีตามีน (Amphetamine) แล้วเปลี่ยนแปลงมันในหลายร้อยหนทาง เนื่องจากยานี้ได้รับการผลิตในห้องปฏิบัติการตามบ้าน (Home laboratory) จึงไม่มีการรับประกันผู้เสพว่า จะมีความปลอดภัยในการเสพ

      ในบรรดา “ยานักออกแบบ” ตัวที่โดดเด่นที่สุดคือ เอ็มดีเอ็มเอ (MDMA = Methylenedioxymethamphetamine) ซึ่งมีการใช้ครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1970s โดยมีชื่อตามท้องถนนว่า “เอ็คสตาซี่” (Ecstasy) แปลว่า “ความปีติยินดี”

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Hallucinogen - https://en.wikipedia.org/wiki/Hallucinogen [2019, August 24].