จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 226: สารหลอนประสาท (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 11 สิงหาคม 2562
- Tweet
แอลเอสดี (LSD = d-lysergic acid diethylamide) เป็นยาเสพติดทรงพลัง (Potent) แม้ใช้ในปริมาณน้อย เพราะมันสามารถสร้างประสบการณ์ประหลาด อันรวมถึงภาพประสาทหลอน (Visual hallucination) และการหยั่งเห็นที่บิดพลิ้วจากความจริง (Perceptual distortion) การรับรู้อารมณ์ความรู้สึก (Sensory awareness) และความรู้สึกเครียดทางจิต (Intense psychological feeling) เป็นเวลายาวนานครั้งละ 8 ถึง 10 ชั่วโมง ในแต่ละครั้งที่ “ท่อง” (Trip) ไป [ในจินตนาการ]
LSD คล้าย (Resemble) สารสื่อประสาท (Neuro-transmitter) ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ชื่อ “เซโรโทนิน” (Serotonin) LSD ผูกติด (Bind) กับตัวรับ (Receptor) ที่สนองตอบตามปรกติ ต่อสารสื่อประสาทเซโรโทนิน และผลลัพธ์สุทธิ (Net effect) ก็คือการเพิ่มขึ้นของการกระตุ้นเซลล์ประสาท (Neuron)
ส่วนใหญ่ (Majority) ของตัวรับเซโรโทนินมักอยู่ในเซลล์ประสาทชั้นนอกสุด (Outermost layer) ของสมองหรือ “เปลือกสมอง” (Cerebral cortex) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับอารมณ์ความรู้สึก (Receiving sensation) การสร้างการหยั่งเห็น (Creating perception) การคิดและจินตนาการ (Imaging)
ผลกระทบทางจิตวิทยาของ LSD นั้น บางส่วนขึ้นอยู่กับภาวะจิต (State of mind) ของบุคคล ถ้าเขามีอาการเกร็ง (Intense) หรือกังวล (Anxious) หรืออยู่ในภาวะที่ไม่คุ้นเคย (Unfamiliar setting) เขาอาจประสบ การ “ท่อง” ที่เลวร้าย ถ้าการ “ท่อง” นั้น เลวร้ายอย่างรุนแรง (Severe) อาจนำไปสู่ปฏิกิริยาตอบโต้ทางจิต (Psychotic reaction) โดยเฉพาะความรู้สึกบ้าคลั่ง (Paranoid) ที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospitalization)
บางครั้งหลังประสบเหตุการณ์ที่หลอนประสาท ผู้เสพสารดังกล่าวอาจพบเห็นแสงสะท้อนกลับ (Flash-back) ที่น่าสะพรึงกลัว (Frightening) ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างไม่มีเหตุผลแจ่มชัด ยังไม่เคยมีรายงานการเสพติดทางกายภาพของ LSD หรือการตายจากการเสพเกินขนาด (Overdose) อย่างไรก็ตาม ผู้เสพมักวิวัฒนาการอดทนยอมรับ (Tolerance) ต่อ LSD อย่างรวดเร็ว
การปรากฏตัวตน (Existence) ของ “เห็ดวิเศษ” (Magic mushroom) ตามภาพแกะสลัก (Carving) ของชาวอินเดียแอสเทคโบราณ (Ancient Aztec Indian) ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในราว 500 ปีก่อนคริสตศักราช (Before Christ : BC) นั้น ค้นพบโดยนักโบราณคดี (Archeologists) ชื่อ อัลเบิร์ต ฮอฟแมน (Albert Hofmann) เขาได้ระบุ (Identify) ส่วนประกอบหลัก (Active ingredient) ของเห็ดชนิดนี้ว่า คือ “ไซโลไซบิน” (Psilocybin) เขาได้ลองกินเห็ดวิเศษนี้ แล้วรายงานว่า มันสร้าง “ฝันตื่น” (Awake dream) ที่รวมถึงการหมุนติ้ว (Whirlpool) ของรูปภาพที่เปลี่ยนแปลงรูปทรง (Shape) และสี อย่างรวดเร็ว
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Hallucinogen - https://en.wikipedia.org/wiki/Hallucinogen [2019, August 10].