จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 222: นิโคตีน
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 14 กรกฎาคม 2562
- Tweet
นิโคตีน (Nicotine) เป็นหนึ่งในสารเสพติดที่ใช้เป็นยาจิตเวช (Psycho-active) มากที่สุดในโลก นิโคตีนมีอยู่ในบุหรี่ ในสหรัฐอเมริกา อัตราการสูบบุรี่ในผู้ใหญ่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราดังกล่าวกลับสูงขึ้นในบรรดาวัยรุ่น ผู้สูบบุหรี่จนเป็นนิสัย (Habitual smoker) แต่ละวันจะมีวัยรุ่นเริ่มสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 3,000 คน และ 75% ของคนกลุ่มนี้ จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ทุกวันในช่วงเวลาต่อมาของชีวิต
นิโคตีนได้รับการจัดประเภท (Classified) เป็นยากระตุ้น (Stimulant drug) มาช้านาน จนถึงปี ค.ศ. 1997 จึงได้รับการจัดประเภทอย่างเป็นทางการว่า เป็นสารที่เสพแล้วติด (Addict) เพราะมันสร้างสิ่งเร้า (Arousal) แล้วตามด้วยการสร้างความสงบ (Calming) ในปริมาณต่ำ นิโคตีนทำให้ผู้สูบบุหรี่มีสมาธิ (Attention) การจดจ่อ (Concentration) และความทรงจำในระยะสั้น (Short-term memory) ดีขึ้น
การสูบนิโคตีนอย่างสม่ำเสมอ (Regular) เป็นสาเหตุการเสพติดและการพึ่งพา (Dependency) แต่การหยุดสูบ จะนำไปสู่กลุ่มอาการถอนคืน (Withdrawal symptom) กล่าวคือเป็นการยากที่จะเลิก (Quit) สูบบุหรี่ เมื่อได้เสพติดนิโคตีนไปแล้ว ในเบื้องต้น นิโคตีนกระตุ้นบางตัวรับรู้ในสมอง (Brain receptors) ที่เป็นสาเหตุของสิ่งเร้า
แต่หลังจากช่วงเวลาหนึ่ง นิโคตีนจะขัดขวาง (Block) ตัวรับรู้เหล่านี้ แล้วสร้างความสงบ นักวิจัยพบว่า นิโคตีนกระตุ้น (Activate) อาณาบริเวณสมองเดียวกันกับโคเคน (Cocaine) ซึ่งหมายความว่า สารเสพติดเหล่านี้ มีฐานประสาทร่วมกัน (Common neural basis) ในการสร้างสิ่งเร้า ความรื่นรมย์ (Pleasure) และการเสพติด
ในสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีมีผู้สูบบุหรี่ประมาณ 400,000 คนที่ตายจากปัญหาปอดและหัวใจ เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยพบการเชื่อมโยง (Link) ระหว่างการสูบบุหรี่กับปัญหาทางเพศ รวมทั้งการหย่อนสมรรถภาพ (Impotency) เนื่องจากนักวิจัยทราบมานานแล้วว่า นิโคตีนเป็นสารเสพติด ผู้สูบบุหรี่จนเป็นนิสัย จะพบกลุ่มอาการถอนคืนถ้าเลิกสูบ กลุ่มอาการดังกล่าวแตกต่างกันในความรุนแรง (Severity) ได้แก่ ความกระวนกระวาย (Nervousness) การระคายเคือง (Irritability) ปราศจากสมาธิ การรบกวนการนอนหลับ (Sleep disturbance) และการกระหายอยากได้ยาอีก (Craving)
โปรแกรมการหยุดสูบบุหรี่อย่างโดยมืออาชีพ (Professional stop-smoking program) ทั้งหลาย อาทิ การใช้แถบนิโคตีน (Nicotine patch) ล้วนได้ประสิทธิผลพอๆ กัน (Equally effective) แต่มีเพียง 10 – 25% ของผู้ผ่านโปรแกรมดังกล่าว เลิกสูบบุหรี่ได้ใน 1 ปีให้หลัง แต่ที่เหลืออีก 75 - 90% ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้เลย
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
- Nicotine - https://en.wikipedia.org/wiki/Nicotine [2019, July 13].