จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 220: โคเคน (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-220

      

      โคเคน (Cocaine) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โค้ก” (Coke) เป็นสารกระตุ้นที่มักใช้เป็นยาสันทนาการ (Recreational) มักใช้ดื่มอย่างรวดเร็ว (Snort) หรือดูดควันเข้า (Inhale) ทางจมูก หรือละลาย (Dissolved) และฉีด (Injected) เข้าทางหลอดเลือดดำ (Vein) ผลกระทบทางจิต รวมถึงการหลุดจากโลกแห่งความจริง (loss of contact with reality) ความรู้สึกเป็นสุข (Happiness) หรือความปั่นป่วน (Agitation)

      เมื่อประยุกต์ใช้กับบริเวณภายนอก (External) ของร่างกาย โคเคน สามารถขัดขวาง (Block) สื่อประสาทของชีพจร (Conduction of nerve impulse) ด้วยเหตุนี้ โคเคนจึงได้รับการแยกประเภท (Classified) เป็นยาชาเฉพาะที่ (Local anesthetic) ซึ่งเป็นการใช้ที่ถูกกฎหมาย

      ในปริมาณปานกลาง (Moderate dose) โคเคนออกฤทธิ์ช่วงเวลาสั้น (10 – 30 นาที) ซึ่งรวมทั้งการระเบิด (Burst) ของพลังงาน แรงกระตุ้น (Arousal) และการตื่นตัว (Alertness) ผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าเขากำลังมีความคิดที่แจ่มใสขึ้น และทำงาน (Perform) ได้ดีกว่า แต่แท้ที่จริงแล้ว เขากะประมาณคุณภาพของงานเขาสูงเกินไป (Over-estimate)

      ในปริมาณสูง (Heavy dose) โคเคนส่งผลให้เกิดปัญหาร้ายแรงแก่ร่างกายและจิตใจ ทางด้านจิตใจ ได้แก่ อาการประสาทหลอน (Hallucination) และความรู้สึกของแมลงคลาน (Crawling) อยู่ใต้ผิวหนัง ส่วนทางด้านร่างกาย ปัญหาที่สัมพันธ์กับการใช้โคเคนไปในทางมิชอบ (Abuse) อันได้แก่ การไม่เจริญอาหาร (Lack of appetite) การนอนไม่หลับ (Insomnia) การระคายเคือง (Irritation) และกระดูกอ่อน (Cartilage) ของจมูกถูกทำลาย ถ้าหายใจอย่างรุนแรง (Snort)

      อันตรายอื่นๆ ได้แก่ การตายอย่างกะทันหัน (Sudden death) ซึ่งอาจเกิดจากความล้มเหลวในการหายใจ (Respiratory failure) แม้จะเสพในปริมาณต่ำ ส่วนการเสพในปริมาณสูง เป็นสาเหตุของการติดยา (Addiction) และเมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยพบว่าโคเคนเป็นปัจจัยหลักของสาเหตุ (Trigger) ของหัวใจวาย (Heart attack)

      ผู้ใช้โคเคนมักผ่านวงจรอุบาท (Vicious cycle) เมื่อผล (Effect) ของโคเคน เสื่อมสลายลง (Wear off) ผู้เสพจะรู้สึกซึมเศร้า (Depression) เหนื่อยล้า (Fatigue) และกระหายอย่างหนัก (Intense craving) อยากที่จะได้โคเคนอีก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้เสพแสวงหาปริมาณเพิ่มขึ้น และถ้ามีการเสพโคเคนอีก ก็จะตามมาด้วยการซึมเศร้า และกระหายอยากอีก ซึ่งต่อเนื่องเป็นวงจรอุบาท ผู้เสพโคเคนในปริมาณสูงต้องได้รับการเยียวยาจากนักวิชาชีพ (Profession) เพื่อทะลาย (Break out) รูปแบบที่บ่อนทำลาย (Destructive pattern) มิฉะนั้น ก็วนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทตลอดไป

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Cocaine - https://en.wikipedia.org/wiki/Cocaine [2019, June 19].