จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 219: โคเคน (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-219

      

      โคเคน (Cocaine) สามารถสร้างแรงกระตุ้นเท่ากับ (Equivalent) สารคาเฟอีน (Caffeine) ที่ “คอกาแฟ” เคยประสบ นักวิจัยสังเกตปัญหาทางจิตและทางกายในผู้เคี้ยวใบโคคา (Coco leaf) อันเป็นกิจกรรมหนึ่งในวัฒนธรรม แล้วเปรียบเทียบชาวพื้นเมือง (Native) ผู้หันไป (Switch) ไปเสพผงเข้มข้น (Concentrated powder) ของโคเคน

      หลังการแพร่ระบาด (Epidemic) ของโคเคนในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980s มีรายงานการเสพโคเคนที่ลดลงในอัตรา 10 – 35% อย่างไรก็ตาม โคเคนยังคงเป็นยาเสพติดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic) ใน 10 เมืองใหญ่ ในสหรัฐอเมริกา และการครอบครอง (Possession) หรือใช้โคเคนยังผิดกฎหมายอยู่

      โคเคนถูกสูด (Sniffed) หรือดื่มอย่างรวดเร็ว (Snorted) มันจะถูกดูดซึม (Absorbed) โดยเนื้อเยื่อของร่างกาย หากโคเคนถูกแปรรูปให้เข้มข้น ซึ่งมีชื่อว่า “ร้าว” (Crack) อาจเสพโดยการสูบ หรือฉีด (Inject) เข้าสู่ร่างกาย และถูกผลิตในทันทีทันใด (Instantaneous) แต่มีอายุสั้นมากๆ

      โคเคน ซึ่งมาจากใบของต้นโคคา มีผลกระทบต่อสรีระ (Physiological) และพฤติกรรม (Behavioral) ที่คล้ายกันมากกับสารแอมเฟตามีน (Amphetamine) โดยทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น อารมณ์และความตื่นตัวทวีขึ้น (Enhanced mood and alertness) กิจกรรมที่เพิ่มขึ้น แต่ลดลงในเรื่องความหิวกระหาย (Appetite) และความเหนื่อยล้า (Fatigue)

      เมื่อมนุษย์หรือลิง สามารถเข้าถึงโคเคนบริสุทธิ์ ก็ใช้อย่างต่อเนื่องได้ จนถึงจุดอดอยาก (Starvation) และตาย การทำให้ตกตะลึงอย่างสุดขีด (Extreme shock) จะลดการติดยา (Addict) ดังกล่าวในลิงได้ ส่วนในมนุษย์ ต้องแก้ปัญหาที่ท้าทายสุขภาพ กฎหมาย และพฤติกรรมส่วนตัวเท่านั้น จึงจะลดการเสพติด (Intake) ได้

      เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยพบว่า ผลกระทบหลัก (Primary) ของโคเคน คือการเพิ่มการหลั่ง (Release) สารสื่อประสาทที่ช่วยส่งสัญญาณในสมอง (Neuro-transmitter) ที่ชื่อว่า “โดพามีน” (Dopamine) ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างกิจกรรมที่ให้ความรื่นรมย์ (Pleasurable) ที่หลากหลาย แต่ยังมีอันตรายเพราะการเสพแล้วติด

      นอกจากจะกระตุ้น “ตัวรับประสาท” (Neural receptor) โดพามีน อันนำไปสู่ความรื่นรมย์ (Euphoria) แล้วโคเคนยังกระตุ้นอีกตัวรับประสาทหนึ่งที่ชื่อ “กลูตาเมท” (Glutamate) อันนำไปสู่ความอยากมากขึ้น (Craving) เช่นเดียวกับแอมเฟตามีน จึงส่งผลให้ทวีแรงกระตุ้น (Arousal) ทั้งทางสรีระและทางจิต

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Cocaine - https://en.wikipedia.org/wiki/Cocaine [2019, June 19].