จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 210: การประยุกต์ใช้การสะกดจิต (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-210

      

      การสะกดจิต (Hypnosis) ได้ถูกนำมาใช้ในการบำบัดรักษา (Therapy) มากว่า 100 ปีแล้ว ในคริสต์ทศวรรษ 1990s ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ใช้การสะกดจิตกับผู้ป่วยของเขา ในเวลาต่อมา ก็มี มิลตัน อิริคสัน (Milton Erickson) ซึ่งได้รับการยอมรับ (Acknowledged) ว่า เป็นผู้นำของโลกในการบำบัดด้วยการสะกดจิต

      มิลตัน อิริคสัน กล่าวว่า การสะกดจิตทำให้ผู้ป่วยเปิดใจและยอมรับนานาหนทางเลือกในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม การสะกดจิตใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยทางจิตทุกคน บางคนพบว่าการสะกดจิตเป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว (Frightening) เพราะผู้ป่วยกลัวว่า จะสูญเสียการควบคุม หรือเพราะเขาเชื่อว่า มันแสดงถึงการปราศจากพลังจิต (Will-power)

      นักบำบัดที่มักใช้การสะกดจิตเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วย ส่วนใหญ่พบว่ามีประโยชน์มากในการช่วยผู้ป่วยให้เปิดเผยบุคลิกภาพ (Personality) เข้าใจลึกซึ้ง (Insights) ถึงชีวิตของเขาเอง และพบวิธีการแก้ปัญหา งานวิจัยด้านการบำบัดด้วยการสะกดจิต (Hypno-therapy) เปิดเผยว่า การสะกดจิตเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ เมื่อใช้ในบริบทของการบำบัดรักษา

      ผู้ป่วยที่อ่อนไหวต่อการสะกดจิตมักสนองตอบต่อคำสั่งที่มุ่งหวังการรักษาโรคจิต (Psycho-somatic) ในวงกว้าง (Wide range) ที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกาย (Mind-body interaction) ตัวอย่างเช่น การสะกดจิตประสบผลสำเร็จในการลดความเจ็บปวด ต่อสู้กับโรคหอบหืดเฉียบพลัน (Asthma attack) ขจัดหูด (remove wart) และบรรเทา ความเครียด (Relieve tension)

      อย่างไรก็ตาม การสะกดจิตก็ไม่ได้ผลในการแก้ปัญหาการควบคุมตนเอง (Self-control) อาทิ การช่วยให้ผู้ป่วยเลิก (Quit) สูบบุหรี่ หยุดการกินอาหารมากเกินไป (Over-eating) หรือดื่มแอลกอฮอล์จัด (Excessive) ตลอดจนเอาชนะ (Overcoming) นิสัยอื่นที่แทรกแซง (Interfere) การทำงานที่สมควร (Optimal functioning)

      ในการศึกษาครั้งหนึ่ง ผู้เข้ารับการวิจัยผ่านการบำบัดรักษาใน 3 โปรแกรม อันได้แก่ การบำบัดพฤติกรรม (Behavior therapy) การให้การอบรมสุขภาพ (Health education) และการสะกดจิต เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (Control) หรือไม่อยู่ในโปรแกรมใดเลย

      หลังจาก 3 สัปดาห์ พบว่า ผู้ผ่านโปรแกรมสะกดจิต ไม่ได้รับแรงจูงใจ (Motivating) อย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติ ในการเลิกสูบบุหรี่ เหนือกว่าการให้การอบรมสุขภาพ หรือการเปลี่ยนแปลง (Modify) พฤติกรรม แต่ผลลัพธ์สรุปได้ว่า ทั้ง 3 โปรแกรมมีประสิทธิผลพอๆ กัน และดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Hypnosis - https://en.wikipedia.org/wiki/Hypnosis [2019, April 20].