จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 199: ความผิดปรกติของการนอนหลับ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-199

      

      การทดลองกับสุนัข พบว่ามันอาจเป็นโรค “นาร์โคเลปติกส์” (Narcoleptics) [ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการนอนหลับได้] ได้เหมือนคน เมื่อเซลล์สมองที่ชื่อ ไฮโปเครติน (Hypocretin) มิได้พัฒนาตามปรกติเหมือนเซลล์ประสาทอื่นๆ แต่ถ้าแพทย์สามารถทดแทน (Replace) สารเคมีที่พร่องไป (Missing) นี้ ก็อาจกลับอาการ (Reverse) ได้อย่างน่าอัศจรรย์

      กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การค้นพบว่า การปราศจากไฮโปเครติน ส่งผลให้เกิด นาร์โคเลปติกส์ และการทดแทน (Replace) ไฮโปเครติน สามารถรักษาโรคนาร์โคเลปติกส์ ได้ ทำให้แพทย์เรียนรู้เป็นครั้งแรกที่จะรักษาโรคนี้ได้สำเร็จ อันเป็นโรคซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ป่วยชาวอเมริกันกว่า 135,000 คน

      ยังมีความฝันคืนหฤโหด (Night terror) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ที่ตื่นขึ้นกลางดึกพร้อมเสียงร้องลั่น (Scream) ด้วยความหวาดกลัวจนตัวสั่น คืนดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ 3 หรือ 4 ที่มีชื่อเรียกว่า “การนอนหลับเดลต้า” (Delta sleep) ซึ่งเด็กจะประสบเหตุการณ์อันน่าสะพึงกลัว (Frightening)

      เหตุการณ์ดังกล่าว มักเริ่มต้นด้วยเสียงร้องลั่นที่แหลมคม (Piercing) ในสภาวะที่เต็มไปด้วยความกลัว (Fearful state), การหายใจที่เร็วขึ้น (Rapid breathing), และอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ที่ถี่ขึ้น อย่างไรก็ตาม ในวันรุ่งขึ้น เด็กส่วนมากจะไม่มีความทรงจำถึงความเจ็บปวดนี้เลย มีเพียง 3 ถึง 7% ของเด็ก ที่จดจำคืนหฤโหดได้

      เด็กที่ยึดติด (Grip) อยู่กับคืนหฤโหด อาจยากที่จะสงบลงได้ และในสภาวะที่ตัวสั่นอย่างรุนแรง (Severely shaken) เด็กต้องใช้เวลาหลายนาทีที่จะฟื้นฟูความรู้สึกตัว (Regain full awareness) เด็กจะประสบคืนหฤโหดระหว่างอายุ 4 ถึง 12 ปีเท่านั้น และจะอันตรธานหายไปเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น (Adolescence)

      ผู้ดูแลเด็กควรใช้เวลานานพอควรในการปลอบใจ (Comfort) เด็ก เพื่อ “เรียกขวัญ” (Soothe) ให้กลับคืนมา ก่อนที่จะไปนอนต่อได้ นอกจากคืนหฤโหดแล้ว ประมาณ 25 ถึง 70% ของเด็กทั้งหมดที่มีอายุระหว่าง 3 ถึง 6 ขวบ จะประสบ “ฝันร้าย” (Nightmare) และประมาณ 10% ของนักศึกษามหาวิทยาลัย รายงานว่า ได้พบ “ฝันร้าย” เดือนละครั้ง

      อันที่จริง ฝันร้ายเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ ช่วง REM (= Rapid eye movement หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตา) เป็นภาพในฝันที่น่าตกใจ และสร้างความกังวล (Anxiety-producing) ไม่น้อย มักเกี่ยวข้องกับอันตราย อาจถูกจู่โจม, ถูกทำร้าย, หรือถูกติดตาม (Pursued) เมื่อตื่นนอน ผู้ฝันร้ายมักอธิบายรายละเอียดของเหตุการณ์ได้ ฝันร้ายมักสิ้นสุดลงเมื่อผู้ฝันร้ายตื่นขึ้น แต่ความรู้สึกกังวล หรือความกลัวจะยังคงอยู่ (Persist) เป็นเวลานาน จนยากที่ผู้ฝันร้ายจะกลับไปนอนต่อ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sleep disorder - https://en.wikipedia.org/wiki/Sleep_disorder [2019, February 2].