จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 136: การมองจากใจ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-136

บ่ายวันเสาร์ มาเรีย (Maria) พาลูกสาวของเธอชื่อ เกเบรียล (Gabrielle) ไปเล่นในสวนสาธารณะท้องถิ่น ซึ่งมีเครื่องลื่นไถล (Slide) ชิงช้า (Swing) เชือกโหน (Rope) และแม้กระทั่งเตียงผ้าใบขนาดเล็กที่ใช้กระโดดโลดเต้น (Trampoline) ในขณะที่ลูกสาวมาเรียเดินไปยังเตียงผ้าใบ เธอเห็นสุนัขสีน้ำตาลตัวโต (Doberman) แต่สวยงามนั่งอยู่ข้างเจ้าของ

เกเบรียลเป็นคนรักสัตว์ เธอจึงวิ่งเข้าหาสุนัข ขณะที่เจ้าของสุนัขง่วนอยู่กับการสนทนา (Deep in conversation) จึงมิได้เห็นเด็กหญิงตัวเล็กวิ่งเข้าสุนัขตัวโต เมื่อเธอเข้าใกล้ เธอยื่นมือทั้งสองไปลูบไล้จมูกสีดำที่นิ่มนวล (Smooth) แต่มันทำให้สุนัขตื่นตูม (Startle) มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexive) ด้วยการคำรามอย่างเกรี๊ยวกราด (Snarl) แล้วตะครุบ (Snap) มือที่ยื่นเข้าใกล้

เกเบรียลรู้สึกเจ็บปวดเมื่อฟันของสุนัขขบกัด (Nip) นิ้วมือ 2 นิ้วของเธอ ซึ่งเริ่มเลือดไหล (Bleed) ทันที เจ้าของสุนัขหันกลับมาเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นพอดี จึงรีบดึงมันออกห่าง ในขณะที่มาเรียวิ่งมาถึง เธอดึงลูกสาวเข้ามาสู่อ้อมกอด ปลอบโยน (Soothe) เธอ แล้วตรวจสอบบาดแผลที่นิ้วมือของลูกสาว

เกเบรียลมองนิ้วมือที่เลือดไหลอยู่และมองดูสุนัขตัวโตสีน้ำตาลที่อัปลักษณ์ (Ugly) ด้วยความโกรธ พร้อมคำพูดที่นองด้วยน้ำตา(Tearful) ว่า “ฉันเกลียดแก เจ้าหมาสารเลว” มาเรียเห็นปฏิกิริยาตอบโต้ (Reaction) ของลูกสาวแล้ว จึงเริ่มลังเลในสิ่งที่เธอวางแผนจะให้ลูกสาวแปลกใจ ด้วยตุ๊กตาลูกสุนัข (Puppy) ในวันเกิดที่กำลังจะมาถึง

หากมองเพียงผิวเผิน (Glance) เหตุการณ์ทั้ง 3 ดังกล่าวมาแล้ว (การซื้อเทปบทเรียนผ่านจิตใต้สำนึก [Subliminal tape] การเห็นจุดขาวในผลตรวจเต้านม (Mammogram) และการที่ลูกสาวถูกสุนัขกัด) ดูเหมือนจะไม่มีอะไรร่วม (In common) กันเลย แต่อันที่จริง เหตุการณ์เหล่านี้นำมาซึ่งคำถามขั้นพื้นฐาน 3 ข้อ เกี่ยวกับวิธีการมองจากใจ (Perceive) ในสรรพสิ่ง

เทปบทเรียนผ่านจิตใต้สำนึกของมาเรีย นำมาซึ่งคำถามแรกว่า มีสิ่งไหนที่เรามองจากใจ (แต่อาจไม่เห็น กล่าวคือ ไม่รับรู้ (Aware)] ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเรา? การเห็นจุดขาวในผลตรวจเต้านมของมาเรีย นำมาซึ่งคำถามที่ 2 ว่า สิ่งของจะต้องมีขนาดใหญ่หรือผิดปรกติแค่ไหน ก่อนที่ประสาทสัมผัส (Sense) ของเราจะค้นพบ (Detect)? นี่เป็นคำถามที่มีความสำคัญมาก เพราะคำตอบอาจมีผลที่ตามมา (Consequence) ของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง

สุดท้าย ประสบการณ์อันเจ็บปวด (Painful) ของเกเบรียล จากการถูกสุนัขกัด นำมาซึ่งคำถามที่ 3 ว่า สิ่งที่เรามองจากใจ ได้รับอิทธิพล (Influence) หรือความลำเอียง (Bias) มากน้อยแค่ไหน จากประสบการณ์ส่วนบุคคล วัฒนธรรม การเรียนรู้ และอารมณ์? คำถามทั้ง 3 ข้อนี้ คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เราเข้าใจว่า เรามองจากใจเกี่ยวกับโลกรอบตัวเรา [โลกทัศน์] อย่างไร?

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Perception https://en.wikipedia.org/wiki/Perception [2017, November 18].