จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 106: หูและการได้ยิน (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

อันที่จริง เมื่อเราเงี่ยหูฟัง (Listen) บางคนที่กระทบ (Strike) แถวก้าน (Key board) ในการเล่นเปียโน เราอาจบอกความแตกต่างระหว่าง “เครื่องหมาย” (Note) สูงหรือต่ำ เพราะสมองของเราแยกแยะ (Discriminate) อย่างต่อเนื่องระหว่างเสียงสูงหรือต่ำ เรียกว่า “ระดับเสียง” (Pitch)

การกระทบก้านบน (Top key) ของเปียโน จะก่อให้เกิดคลื่นเสียงที่เดินทาง (Travel) อย่างรวดเร็ว และได้รับการอธิบายว่า มี “ความถี่” (Frequency) เร็ว สมองของเราจะแปรผล (Interpret) ความถี่เร็วเป็นเครื่องหมายสูง หรือระดับเสียงสูง กล่าวคือ คลื่นเสียงอยูใกล้กัน จนเกิดสียงร้องกรี๊ด (Screech) หรือเสียงกระหึ่ม (Boom)

ส่วนการกระทบก้านล่าง (Bottom key) ของเปียโน จะก่อให้เกิดคลื่นเสียงที่เดินทางอย่างช้าๆ และได้รับการอธิบายว่า มีความถี่ช้า สมองของเราจะแปรผล ความถี่ช้าเป็นเครื่องหมายต่ำ หรือระดับเสียงต่ำ กล่าวคือ คลื่นเสียงอยู่ห่างกัน (Apart) จนเกิดสียงทุ้ม (Bass) หรือเสียงต่ำ (Cadence)

เมื่อเราได้ยินเสียง ระบบการได้ยิน (Auditory System) จะใช้ความถี่ ในการคำนวณระดับเสียงโดยอัตโนมัติ นี่คือความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างความถี่และระดับเสียง

ระดับเสียงคือ ประสบการณ์ความรู้สึก (Subjective experience) ของเสียงสูงหรือต่ำ สมองของเราจะคำนวณระดับเสียง จากพลังงานทางกายภาพจำเพาะ (Specific physical energy) ซึ่งก็คือ “ความเร็ว” (Speed) หรือ ความถี่ของคลื่นเสียงในกรณีนี้ ตามปรกติ ความถี่ของคลื่นเสียงวัดเป็นรอบวงจร (Cycle) ซึ่งหมายถึง (Refer) จำนวนคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที

ตัวอย่างเช่นการกระทบแถวก้านสูงสุดในการเล่นเปียโน จะก่อให้เกิด (Produce) คลื่นเสียงที่มีความเร็ว 4,000 รอบวงจรต่อวินาที อันส่งผลให้เกิดเสียงสูงหรือระดับเสียงสูง ในขณะที่การกระทบแถวก้านต่ำสุด จะก่อให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความถี่ช้าลง (27 รอบวงจรวินาที) อันส่งผลให้เกิดเสียงต่ำหรือระดับเสียงต่ำ

มนุษย์ได้ยินเสียงเฉพาะภายในช่วง (Range) ของความถี่เท่านั้น ซึ่งลดลง (Decrease) ไปตามอายุ ตัวอย่างเช่น ทารก (Infant) มีช่วงห่าง (Amplitude) ที่สุดของการได้ยิน จากความถี่ของ 20 ถึง 20,000 รอบวงจร ต่อวินาที สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย อาจเป็นความถี่ของ 30 ถึง 18,000 รอบวงจร ต่อวินาที เมื่ออายุสูงขึ้น ช่วงการได้ยินจะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 70 ปี ผู้คนจำนวนมากจะมีปัญหาในการได้ยินเสียงสูงกว่า 6,000 รอบวงจรต่อวินาที เราจะเห็นความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบสียงจากเครื่องบินไอพ่น (Jet) กับเสียงกระซิบ (Whisper)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson กLearning.
  2. Hearing - https://en.wikipedia.org/wiki/Hearing [2017, April 22].