จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 299 : อนาคตของชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-299

      

การบำบัดชะลอวัย (Anti-aging) อาจชะลอ (Delay) จุดเริ่มต้น (Onset) ของสัญญาณชราภาพ แต่ในที่สุด (Eventually) ชะลอภาพก็มาถึงเมื่อการบำบัดล้มเหลวในเวลาต่อมา การเปลี่ยนแปลงในร่างายซึ่งบุคคลใดจงใจหลีกเลี่ยงขั้นตอนนี้อาจร้ายแรง (Traumatic) กว่าผู้ที่แก่ตัวลงตามธรรมชาติ และยอม (Passively) ให้ร่างกาย “ผ่าน” (Undergo) กระบวนการชราภาพ

ก่อนที่จะเทคะแนนเสียงให้อย่างเร่งรีบ (Hastily) แก่การบำบัดชะลอวัย อาจเป็นการฉลาด (Wise) ที่จะพิจารณาผลตามมา (Consequence) ทางจิตที่มีโอกาสรุนแรง พึงสังเกตด้วยว่า ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร ภาพลักษณ์ (Image) ของชราภาพก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะถูกพยากรณ์จากข้อสมมุติฐานที่ว่า กระบวนการนั้นมีความหมายเดียวกับ (Synonymous with) การเสื่อมถอยของร่างกาย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้ทบทวนประวัติการแยกแยะข้อบ่งชี้ (Marker) ของชราภาพ แล้วสรุปว่าการเสื่อมถอยของร่างกายเป็นข้อบ่งชี้สำคัญ (Prime) ของกระบวนการชราภาพในอนาคต

ในประการที่ 2 ทัศนคติอันควรเป็นดัชนีชี้วัดที่ดีของอายุ แนวความคิดยอดนิยมของคนชราก็คือเขาเป็นพวกอนุรักษ์นิยม (Conservative) และดื้อดึง (Cantankerous) ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่ผิด (Erroneous view) อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลอื่นสำหรับการสงสัยในข้อสมมุตินี้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน (Radical shift) ทางด้านสังคมวิทยา (Sociological) ใน 50 ปีที่ผ่านมา ไปยังสังคมที่เปิดกว้าง (Liberal) และตามอำเภอใจ (Permissive)

สังคมใหม่ยอมให้ผู้ใหญ่เยาว์วัยแสดงออก (Express) และฉลอง (Celebrate) ความเป็นหนุ่มสาว แทนที่จะพยายามให้เป็นกลายเป็นสำเนา (Carbon-copy) ของชั่วอายุคน (Generation) รุ่นพ่อแม่โดยเร็ว ชั่วอายุคนเริ่มแรกของดนตรีร็อค (Rock ‘n’ Roll) ได้ผ่านพ้นวัยเกษียณอายุไปแล้ว และชั่วอายุคนรุ่น “พลังดอกไม้” (Flower power) ก็อายุประมาณ 60 ปี

การขยายกิ่งก้านสาขา (Ramification) อย่างเต็มที่ของชั่วอายุคนเหล่านี้ มีความซับซ้อน (Complex) และสามารถรองรับอย่างเหมาะสมด้วยบริบททางสังคมวิทยา แต่การพยากรณ์สำคัญทางจิตวิทยาก็เริ่มโผล่ (Emerge) มาจากการขยายตัวนี้ กล่าวคือผู้สูงวัยของอนาคติไม่มีแนวโน้มที่จะสอดรับกับช่องว่าง (Niche) อย่างเหมาะสม

ความคาดหวังของสังคมที่ได้กำหนด (Established) ไว้ ก็คือความเต็มใจของคนรุ่นใหม่ที่จะดำเนินไปตามคนรุ่นราวคราวเดียวกันก่อนหน้านี้ (Previous cohort) แต่ธรรมเนียมปฏิบัติ (Convention) อาจถูกละเมิด (Flouted) และถูกคัดค้าน ดังนั้นชั่วอายุคนรุ่นใหม่ อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงประเพณี (Mores) ของสังคมเพื่อให้รองรับผู้สูงวัย แต่ผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะทำเอง

ข้อพิจารณาประการสุดท้ายเกี่ยวกับเวลาสันทนาการ (Leisure time) ดูเหมือนจะเป็นการขวางโลก (Perversely) ที่ในสังคมอุตสาหกรรม ซึ่งให้คุณค่า (Treasure) อย่างมากแก่เวลาสันทนาการ แต่การมีเวลาดังกล่าวมากอาจมิใช่สิ่งที่น่าพอใจ (Distaste) เนื่องจากมันอาจหมายถึงการตกงาน (Unemployment) หรือการเกษียณอายุ (Retirement)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. The Future of Aging. https://qz.com/is/what-happens-next-2/1490604/future-of-aging/[2021, January 5].