จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 298 : อนาคตของชราภาพ (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 30 ธันวาคม 2563
- Tweet
ในปัจจุบัน ความเห็น (Judgment) ในเรื่องอะไรทำให้คนแก่ตัวลง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลายกฎเกณฑ์ (Criteria) อันได้แก่ รูปโฉม (Appearance), ทัศนคติ (Attitude), และปริมาณเวลาสันทนาการ (Leisure) อย่างไรก็ตาม พัฒนาการหลากหลายมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจัยเหล่านี้
ในประการแรก รูปโฉมอาจเป็นปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) ที่สุด ที่จะได้รับผลกระทบ ศัลยกรรมพลาสติก (Plastic surgery) และการบำบัดทดแทนฮอร์โมน (Hormone replacement) อาจขจัด (Remove) รูปโฉมที่ปรากฏมา 1 ทศวรรษ หรือมากกว่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงความสำอาง (Cosmetic)
คงไม่มีเหตุผลที่จะสงสัยในแวดวง (Field) นี้ที่จะปรับปรุงด้วยนานาวิธีการ (Technique) และอาจกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไป “เอื้อมถึงได้” (Affordable) นอกเหนือจากความเป็นไปได้ที่ความก้าวหน้าของบริการทางการแพทย์ จะค้นพบหนทางชะลอ (Retard) กระบวนการชราภาพ (Aging process)
เป็นที่รับรู้กัน (Well-established) ว่า สัตว์บางตัวสามารถอยู่ได้ยาวนานขึ้น โดยเพียงปรับตัวให้เหมาะสม (Manipulate) กับสภาพแวดล้อมและอาหารการกิน (Diet) แต่การก้าวกระโดด (Leap) ของการปรับตัวนี้สู่มนุษย์ มิใช่เป็นสิ่งที่ง่ายดายนัก แต่ ณ จุดหนึ่งของเวลา การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างแน่นอน
แล้วคนอายุเกิน 60 ปี ก็จะไม่ดู “แก่” อีกต่อไปในความหมายแบบตายตัว (Stereotype) อย่างไรก็ตาม แล้วสิ่งนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือ? อาจเป็นไปได้ไหมที่ผู้คนจะหามองดัชนีชี้วัดอายุอื่น? อาทิ แทนที่จะมองหาความเหี่ยวย่น (Wrinkle) หรือผมหงอก (Grey hair) เราจะเบนความสนใจ (Attention) ไปที่สายตาที่คมชัด (Eye brightness)
วัฒนธรรมที่แตกต่างในการหยั่งเห็น (Perception) ลักษณะหลักทางกายภาพ (Key physical attribute) จากแง่มุม (Respect) อื่น อาทิ ส่วนไวของความรู้สึกทางเพศ (Erogenous zone) ผู้ชาย (Heterosexual male) ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจถูกดึงดูด (Attracted) มากที่สุด โดยทรวงอก (Breast), สะโพก (Buttock), ขา (Leg), หรือต้นคอ (Nape of neck) แล้วทำไมดัชนีชี้วัดหลัก (Prime) ของอายุไม่อาจเปลี่ยนแปลง (Shift) ข้าม (Across) วัฒนธรรมที่แยก (Separate) ด้วยเวลาล่ะ?
อีกทางเลือกหนึ่ง (Alternatively) การชะลอชราภาพอาจสัมฤทธิ์ผล โดยที่ไม่มีใครบอกได้ว่าผู้ใหญ่นั้นมีอายุเท่าใด อันก่อให้เกิดภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก (Dilemma) ครั้งแล้วครั้งเล่า บางคนจะจงใจ (Deliberately) เลือกที่จะให้แก่ตัวตามธรรมชาติ และเลือกที่จะไล่ตัวเองออกนอกคอก (Outcast) บางทีการบำบัดชะลอวัย (Anti-aging) อาจแพงมาก จนบางวรรณะสังคม (Social cast) เท่านั้นที่จะเอื้อมถึง บางทีโรคประสาท (Neurosis) ชนิดใหม่อาจอุบัติขึ้นทำให้ผู้คนต้องทรมาน (Afflict) โดยรู้สึกว่า “ติดกับดัก” (Trapped) ในร่างกาย ณ อายุที่ไม่สมควร (Wrong age) สำหรับความคิดและทัศนคติ
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- The Future of Aging. https://qz.com/is/what-happens-next-2/1490604/future-of-aging/[2020, December 29].