จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 296 : อัตวินิบาตกรรม (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-296

      

นักวิจัยบางคนพบว่า ผู้ชายจากอายุ 60 ถึง 80 ปี แสดงการเพิ่มขึ้นในกลุ่มอาการซึมเศร้า ในขณะที่ผู้หญิงมิได้เพิ่มขึ้นเลย นักวิจัยอื่นไม่พบความแตกต่างอย่างเด่นชัด (Pronounced) ในเรื่องเพศ

นอกจากนี้ ยังมีการพบว่า ในประเทศแคนาดา การฆ่าตัวตายของผู้สูงวัยมีจำนวน (Number) มากในจังหวัด (Province) ที่มีความมั่งคั่งโดยทั่วไป (General affluence) แต่เปอร์เซ็นต์ (Percentage) สูงกว่าในผู้สูงวัยที่มีรายได้ต่ำ แต่นี้ไม่สามารถอธิบายได้หมด ปัจจัยอื่นที่ได้รับการค้นพบ (Identified) ได้แก่ –

  • ปัญหาทางการแพทย์ และการสูญเสียความสัมพันธ์ (Relationship loss)
  • ความรู้สึกผิดหวังในตัวนักวิชาชีพทางการแพทย์ (Medical-care professional) และบริการสุขภาพโดยทั่วไป
  • (สำหรับผู้สูงวัย) การตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) ภายใน 1 ปีที่ผ่านมา
  • การซึมเศร้า (Depression)
  • คะแนนต่ำในการเปิดรับสังคม (Extra-version) และคะแนนสูงในอารมณ์มั่นคง (Neuroticism)
  • การหยั่งเห็น (Perceived) ระดับของภาระ (Burden) แก่ผู้อื่น
  • กลยุทธ์การรับมือที่ไร้สมรรถภาพ (Poor coping strategy)
  • ระดับต่ำของการรวมตัวอยู่ในสังคม (Social inclusion)
  • วันเกิด (ในผู้สูงอายุชาย)
  • ความชื้น (Humidity)

ความมากมายเหลือเฟือ (Plethora) ของสาเหตุที่เป็นไปได้ (และยังห่างไกลจากรายการครอบคลุม [Exhaustive list]) อาจสร้างภาพ (Impression) ว่า คงทำอไรไม่ได้ที่จะพยากรณ์ (Predict) การฆ่าตัวตายของผู้ใหญ่สูงวัย เนื่องจากมีตัวแปร (Variables) มากเกินไป อย่างไรก็ตาม ตัวแปรในรายการข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีความสำคัญเท่ากัน และบางตัวอาจอธิบายทั้งหมดหรือขอบเขตส่วนใหญ่¬ของตัวแปรอื่นในรายการข้างต้น กล่าวในเชิงสถิติก็คือ มีตัวแปรร่วม (Co-variance) มากมาย

ในมุมกว้าง นักวิจัยได้พัฒนาเป็นสูตร (Formula) ที่สามารถพยากรณ์อัตราการฆ่าตัวตายได้ ดังนี้ Y = A + BX + CX2

โดยที่ Y คืออัตราฆ่าตัวตาย, X คือสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม, A, B, และ C เป็นค่าคงที่ (Constant) กล่าวคือ สมการนี้ได้จับคู่ (Mapping) อัตราฆ่าตัวตายได้แม่นยำ โดยที่มันผันแปรไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคม แต่บนพื้นฐานของพฤติกรรมแต่ละบุคคล ในปัจจุบันเรายังขาดแบบจำลอง (Model) ที่จะอธิบายได้อย่างเพียงพอถึงการฆ่าตัวตายของแต่ละบุคคล เพราะปราศจากอย่างเด่นชัด (Conspicuous) ซึ่งกลยุทธ์ป้องกันการฆ่าตัวตาย จากบรรดานักสังคมสงเคราะห์ (Social workers)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Suicide.https://en.wikipedia.org/wiki/Suicide [2020, December 15].