จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 295 : อัตวินิบาตกรรม (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-295

      

เท่าที่ผ่านมา เราได้พิจารณาเรื่องมรณกรรม เมื่อผู้คนมิได้เลือก (Elect) ที่จะตาย แต่อัตวินิบาตกรรมหรือการฆ่าตัวตาย (Suicide) ก็เป็นสาเหตุของการตายที่มีความน่าจะเป็น (Probabilistic) ของความสัมพันธ์กับชีวิตบั้นปลาย นักวิจัยพบว่าโดยทั่วไปอัตราการฆ่าตัวตาย เพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่เป็นจริงสำหรับทุกประเทศ

เมื่อเร็วๆ นี้ อัตราฆ่าตัวตายได้ลดลงในบางประเทศ รวมทั้งสหราชอาณาจักร อาจเป็นเพราะการให้ยา (Drug prescription) รุ่นใหม่ (New generation) ที่ต้านการซึมเศร้า (Anti-depressant) อย่างได้ประสิทธิผลกว่า นักวิจัยพบว่า ผู้คนในหลายประเทศที่เคยอยู่ในกลุ่มโซเวียด (Soviet Bloc) โดยเฉพาะผู้เยาว์วัย มีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงกว่าถัวเฉลี่ยของโลก (World average)

แต่เป็นความผิดพลาดของการอ่าน (Mis-reading) สถิติ กล่าวคือแทนที่จะเป็นเปอร์เซ็นต์ (Percentage) จำนวน (Number) ของวัยรุ่น (Teenage) และผู้ใหญ่เยาว์วัยที่ฆ่าตัวตาย มีน้อยกว่าผู้ใหญ่สูงวัยที่ฆ่าตัวตาย โดยมีสัดส่วน (Proportion) การฆ่าตัวตายที่สูงกว่าจำนวนการตายทั้งหมดภายในกลุ่มเยาว์วัย

ความพยายามฆ่าตัวตายของผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะสำเร็จมากกว่าผู้เยาว์วัย ซึ่งมีอัตราล้มเหลวมากกว่า 50% ไม่เพียงเพราะความแตกต่างในเรื่องความกำยำ (Robust) ของร่างกายในแต่ละกลุ่มอายุ แต่ยังเป็นเพราะวิธีที่เลือกฆ่าตัวตาย ผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะเลือกวิธีปฏิบัติที่รับประกันผล อาทิ ยิงตัวตาย, จมน้ำตาย, และหายใจไม่ออก (Asphyxiation)

แต่ผู้เยาว์วัยมีแนวโน้มที่จะเลือกวิธีที่แน่นอนน้อยกว่า อาทิ กินยาเกินขนาด (Overdose) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบเห็นโดยเพื่อนสนิทหรือญาติก่อนยาจะเริ่มออกฤทธิ์ ซึ่งสะท้อน (Reflect) ถึงเหตุผลของความพยายามฆ่าตัวตาย กล่าวคือ ผู้สูงวัยพยายามฆ่าตัวตายเพื่อหลบหนี (Escape) จากชีวิตที่เจ็บปวดและต้องทนทุกข์ทรมาน แต่ผู้เยาว์วัยอาจต้องการเพียงเปลี่ยนสถานการณ์

อย่างไรก็ตาม อาจไม่เพียงพอ (Suffice) ที่จะกล่าวว่า การฆ่าตัวตายของผู้สูงวัยเป็นเพียงการ (Purely) สนองตอบต่อความทุกข์ทรมาน เนื่องจากมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด (Notably) ในเรื่องเชื้อชาติ (Race) และเพศ (Gender) ของอัตราฆ่าตัวตาย แม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างในเรื่องทัศนคติ (Attitude) ต่อการฆ่าตัวตาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติไหนหรือเพศใด

นักวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยหญิง (ทั้งผิวดำและผิวขาว) และผู้สูงวัยชายผิวดำ มิได้แสดงการเพิ่มขึ้นในการฆ่าตัวตายในบั้นปลายของชีวิต (อันที่จริง ลดลงด้วยซ้ำ) อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นส่วนมากเกิดจากผู้สูงวัยชายผิวขาว ดังการค้นพบในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) ของนักวิจัย

คำอธิบายที่ประหยัด (Parsimonious) สุดของปรากฏการณ์ (Phenomenon) ก็คือ ผู้ชายผิวขาวคุ้นเคย (Accustomed) กับอำนาจ (Power) และมาตรฐานการครองชีพ (Standard of living) ที่สูง และการสูญเสียหรือลดลงของสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวะที่เกินกว่าจะรับมือ (Cope with) ได้

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Suicide.https://en.wikipedia.org/wiki/Suicide [2020, December 8].