จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 290 : การตายของคนใกล้ชิดในต่างวัฒนธรรม (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-290

      

  • นักวิจัยพยายามที่จะดัดแปลง (Adapt) การวัดผลความเศร้าโศก (Grief) ในการตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) ในประชากรของสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้กับชนกลุ่มน้อย (Minority) ที่อพยพมาจากทวีปอเมริกาใต้ (Latino) ส่งผลให้เกิดโครงสร้างปัจจัยที่แตกต่าง (Different factor structure) ซึ่งแสดงว่า ประชากรกลุ่มนี้มีระดับความเศร้าโศกที่สูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ
  • ในการเปรียบเทียบกับ 6 ประเทศในยุโรป นักวิจัยพบว่า 3 ประเทศแสดงความแตกต่างอย่างมากในการใช้ยา (Drug administration) เพื่อรักษาแบบบรรเทาอาการ (Palliative) ซึ่งผลข้างเคียง (Side effects) ช่วยเร่ง (Hasten) ระยะสุดท้ายของชีวิต อันนำไปสู่ความแตกต่างระดับชาติในการย่นระยะเวลาการตายของผู้ป่วยให้เร็วขึ้นเกือบ 2 สัปดาห์ ในกรณีสุดขั้ว (Extreme case)
  • ในตัวอย่าง (Sample) ของผู้สูญเสียญาติสนิทในสาธารณรัฐประชาชนจีน ความรู้สึกผูกพัน (Bond) ต่อเนื่องกับผู้ตาย 4 เดือนหลังการตาย นำไปสู่การปรับตัวที่ดีขึ้น หลังจากการตายได้ 18 เดือน แต่ผลลัพธ์กลับกันในตัวอย่างของผู้สูญเสียญาติสนิทในสหรัฐอเมริกา
  • แม้ว่าผู้คนจำนวนมากในโลกตะวันตก มีความชอบมากกว่า (Preference) ที่จะตายที่บ้าน แต่ผลลัพธ์จะกลับกันในชุมชนชาวจีน เนื่องจากความเชื่อตามประเพณีเกี่ยวกับผี (Ghost) เข้าสิงสถิต (Inhabit) ณ สถานที่ที่ตาย แม้ว่าเป็นความเชื่อไสยศาสตร์ (Superstition) ที่รับรู้กันในบรรดาคนจีน แต่มีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ตาย
  • เครือข่ายสังคม (Social network) มีอิทธิพลมากต่อลักษณะ (Feature) การตายในประเทศเยอรมันและญี่ปุ่น, มีอิทธิพลปานกลาง (Mediated) ต่อเพศและอายุในประเทศฝรั่งเศส, แต่ไม่มีผลกระทบใดๆ ในสหรัฐอมริกา
  • ชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟริกา มีความเชื่อในเชิงลบเกี่ยวกับการดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต (Hospice care), เชื่อในเชิงบวกของการรักษาพยาบาลในเชิงรุก (Aggressive treatment) ในระยะสุดท้ายของชีวิต, และมีแนวโน้มน้อยที่จะทำพินัยกรรมล่วงหน้า (Advance directive)

ในทางปฏิบัติ นักวิจัยทุกคนที่ศึกษาเรื่องการตายของคนใกล้ตัว (Bereavement) สังเกตความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดยชี้ให้เห็นความจริงที่ว่า มุมมองของชาวตะวันตก (Western view) มิใช่ถูกต้องโดยอัตโนมัติ และความจริงแล้ว อาจเป็นวิธีการคับแคบ (Narrow approach) แต่ก็อาจเป็นไปได้ที่ให้ความสำคัญมากเกินไป (Overplay) ในเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม

ประการแรก แม้ว่าเป็นการถูกต้องที่แพทย์และนักวิจัยจะมีความรู้สึกอ่อนไหวต่อแนวทางปฏิบัติทางวัฒนธรรม แม้ภายในวัฒนธรรมเดียวกัน ก็มิใช่ทุกคนจะปฏิบัติแบบเดียวกัน หรือมีความเชื่อเหมือนกัน นอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นพบความเหมือนมากกว่าความแตกต่างด้วยซ้ำ

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Sociocultural Influences of Bereavement https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK217844/[2020, November 3]