จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 289 : การตายของคนใกล้ชิดในต่างวัฒนธรรม (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-289

      

อย่างไรก็ตาม บางพฤติกรรมเป็นสิ่งธรรมดาสามัญ (Common) แม้จะไม่เหมือนกันไปทั้งหมด (Universal) อันได้แก่ สภาวะของความไม่เชื่อ (Disbelief) อาทิ ความรู้สึกว่าการตายเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้, ความทุกข์แสนสาหัส (Severe distress), การตายของคนใกล้ชิด (Bereaved) ที่หลอกหลอน (Hallucinating) ว่า เขาได้ยินเสียงพูดของคนตายหรือได้สัมผัสคนตาย, กลุ่มอาการวิตกกังวล (Anxiety) และการซึมเศร้า (Depression), ตลอดจนความรู้สึกสำนึกผิด (Guilt) ว่า คนใกล้ชิดได้ตายไปแล้ว เขาเองจะรอดตาย (Survived) ได้อย่างไร?

นอกจากนี้ ยังระดับของความเศร้าโศก (Grief) ที่ประสบระหว่างใกล้ตาย อย่างน้อยในผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม (Dementia) กลุ่มอาการของความเศร้าโศกค่อนข้างคล้ายคลึง (Akin) กับโรคซึมเศร้าทางการแพทย์ และก็มีอันตรายว่าในช่วงใกล้ตาย อาจได้รับการวินิจฉัยผิดพลาด (Misdiagnosed) ว่า เป็นโรคซึมเศร้า อันนำไปสู่การรักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็น

การใกล้ตายเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มอาการผิดปรกติ (Atypical) ต้องการการรักษาพยาบาลตามเกณฑ์ (Norm) และในหลายวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ไม่ยอมรับ (Sanctioned) ดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังกันว่า คนจะมีการซึมเศร้าผิดปรกติ และแสดงพฤติกรรมอื่นที่คนทั่วไปมองว่าเป็นอาการของการเจ็บป่วย

ในเวลาเดียวกัน (Simultaneously) เป็นที่คาดกันว่า การตายของคนใกล้ชิด จะทำให้ผู้ป่วยไม่ไปเกี่ยวข้อง (Engage) ในกิจกรรมอื่น อาทิ การมีส่วนร่วมในเหตุการณ์รื่นเริงจนเกินไป (Overly cheerful) หรือการแต่งงานใหม่ภายใน 2 – 3 เดือนหลังคู่ชีวิตตาย เพราะจะเป็นที่โจษจันฉาวโฉ่ (Scandalous)

สิ่งนี้เหล่านี้คงฝังอยู่ในจิตใจ (Ingrained) จนกลายเป็นสัญชาตญาณ (Instinctive) แต่มันก็เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Artifact) ทางวัฒนธรรม กล่าวคือการคาดถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมเมื่อมีการตายของคนใกล้ชิด เป็นเรื่องของวัฒนาธรรมไม่น้อย (Great degree) และมีคำอธิบายมากมายที่ง่ายต่อการเข้าใจ (Easily assimilated) ในต่างวัฒนธรรมดังกล่าว

นักวิจัยคนหนึ่งอธิบายอย่างเหมะสม (Aptly) ในเรื่อง (Field) นี้ว่าเป็นความหลากหลาย (Variety) ในการสนองตอบของผู้คนต่อการตาย อาทิ ลักษณะ (Nature) การไว้ทุกข์ (Mourn) และการทำใจ (Internalization) ของสิ่งที่สูญเสีย ซึ่งไม่ว่าจะมองอย่างไร ก็ดูเหมือนเป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรม ดังกรณีต่อไปนี้

  • นักวิจัยได้แยกแยะ (Identify) ปัจจัยหลัก 10 ข้อที่เป็นประเด็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมในพฤติกรรมของผู้ใกล้ตายได้แก่ ความแตกต่างในหน้าที่ (Function) ของครอบครัว, บทบาทของเพศ (Gender), ความสามารถทางภาษา (Linguistic competence), ทัศนคติต่อการเจ็บป่วยและแนวทางปฏิบัติต่อสุขภาพ เป็นต้น และแต่ละหัวข้อเหล่านี้ก็สามารถแบ่งแยกเป็นหัวข้อย่อยได้อีกมากมาย (Myriad)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Sociocultural Influences of Bereavement https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK217844/[2020, October 27].