จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 288 มรณกรรม (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 21 ตุลาคม 2563
- Tweet
มีปัจจัยอื่นในสภาพแวดล้อม (Surrounding) ที่ทำให้แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย (Care practice) ซับซ้อนขึ้น (Complicate) ตัวอย่างเช่น มีประจักษ์หลักฐานว่า แพทย์มีความเต็มใจน้อยที่จะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยสูงวัยในระยะสุดท้ายของชีวิต (หากแพทย์มีสิทธิพูดได้) เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยเยาว์วัย
ผู้ป่วยสูงวัยก็มีแนวโน้มน้อยว่า จะยอมรับยากดประสาท (Sedation) เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลแบบบรรเทาอาการ (Palliative care) นักวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่กำลังตาย ณ ที่บ้าน ซึ่งได้รับยากดประสาทเพื่อรักษาตามอาการนั้น ถัวเฉลี่ยแล้วมีอายุ 58+/-17 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับถัวเฉลี่ยอายุ 69+/-15 ปีของผู้ป่วยที่มิได้รับยากดประสาท
ดูเหมือนกรณีนี้ มิได้เป็นแนวทางเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากอายุ (Ageist practice) แต่เนื่องจากผู้ป่วยเยาว์วัยที่กำลังตาย มีแนวโน้มที่จะแสดงความคลุ้มคลั่ง (Delirium) และกลุ่มอาการกระสับกระส่ายทางกาย (Physically restless) คุณภาพของการสื่อสารโดยบุคลากรโรงพยาบาล โดยเฉพาะพยาบาลมีความสำคัญยิ่ง (Crucial) ที่จะกระทบต่อการสนองตอบทางอารมณ์ของผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย
ความจริงที่ว่า นักวิชาชีพดูแลสุขภาพ (Healthcare professionals) อาทิ แพทย์เจ้าของไข้และแพทย์ที่ปรึกษา ได้พบผู้ป่วยในเวลาอันจำกัด ไม่ยาวนานพอขับเคลื่อนพลวัต (Dynamic) [ของการดูแลแบบบรรเทาอาการ] นอกจากนี้ ในบรรดาสถานพยาบาลด้วยกัน ก็มีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันในเรื่องการดูแลแบบบรรเทาอาการอย่างไรและเมื่อใดจะยุติการดูแล
นักวิจัยคูเบลอ-รอส (Kubler-Ross) ได้กำหนด 5 ขั้นตอนในแบบจำลองที่ประยุกต์ใช้กับกระบวนการเศร้าโศก (Grieving process) แต่เป็นที่ยอมรับ (Recognized) กันในปัจจุบันว่า ไม่ถูกต้องนักในการอธิบายการปรับตัว (Adjustment) ของผู้กำลังตาย กล่าวคือ บางพฤติกรรม อาทิ การปฏิเสธ (Denial) และความโกรธ (Anger) อาจปรากฏตัวให้เห็น แต่ไม่มีลำดับตายตัว (Strict sequence) และมิใช่ทุกคนจะแสดงพฤติกรรมทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้ไม่ได้หยุดยั้งจำนวนมากของเว็บไซต์ที่ให้คำแนะนำหนักแน่น (Firm advice) ในขั้นตอนเศร้าโศกของการตายของคนใกล้ชิด (Bereaved) ที่คาดว่าจะได้ประสบ แม้ว่าบางคำแนะนำอาจช่วยผู้กำลังตายบางคนได้ แต่อาจทำให้ผู้อื่นรู้สึกผิด (Guilty) หรือกังวล (Anxious) ว่า เขาได้แสดงออกซึ่งความเศร้าโศกอย่างไม่เพียงพอ (Insufficient) เนื่องจากมิได้แสดงออกซึ่งรูปแบบ (Pattern) ของพฤติกรรม
ความจริงที่เปิดเผย (Blunt truth) ก็คือความเศร้าโศก และการตายของคนใกล้ชิด ก่อให้เกิดประสบการณ์ส่วนบุคคลที่เข้มข้น (Intense) ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้แสดงออกตั้งแต่ผลงานวิจัยสมัยใหม่ในเรื่องความเศร้าโศก นักวิจัยได้ศึกษาอย่างเป็นระบบในเรื่องความเศร้าโศกของสมาชิกในครอบครัวที่ได้สูญเสียคนที่รักในไฟไหม้ครั้งใหญ่ ณ ไนต์คลับแห่งหนึ่งในนครบอสตัน (Boston)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Deathhttps://en.wikipedia.org/wiki/Death[2020, October 20].