จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 286 มรณกรรม (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 7 ตุลาคม 2563
- Tweet
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อมาตรวัด อาทิ ภาพคลื่นกระแสไฟฟ้าสมอง (Electron-encephalogram : EEG) บันทึกไม่พบกิจกรรมสมอง แสดงว่าตาย ข้อถกเถียงนี้มีพลัง (Compelling) ในหลากหลายมิติ (Respect) กล่าวคือ การปราศจาก (Absence) กิจกรรมสมองแสดงว่า ไม่มีกิจกรรมทางจิต (Mental activity)
และแม้ว่า ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟู (Revived) ก็มีความน่าจะเป็น (Probable) ว่าเขาจะไม่มีกระบวนการปัญญาขั้นสูง (Higher intellectual process) และอันที่จริงอาจด้อยการควบคุมเกือบทุกการทำงานของร่างกาย (Bodily function) ดังนั้นบรรดา ผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) ต่างมีแนวโน้มไปยัง (Lean toward) ความคิดที่ว่า การปราศจากกิจกรรมสมองบ่งบอกถึงอาการวินิจฉัยที่สำคัญ(Cardinal diagnostic symptom)
แต่วิธีการนี้ ก็มิใช่จะปราศจากข้อเสีย (Disadvantage) ในประการแรก เนื่องจากในหลายๆ กรณี ร่างกายอาจมีชีวิตอยู่โดยอาศัยเครื่องช่วยหายใจเทียม (Artificial respirator) ทำหน้าที่ที่สมองเคยทำ (Perform) ดังนั้น เซลล์ของร่างกายอาจมีชีวิตอยู่โดยอาศัยสิ่งเทียม แม้สมองจะหยุด (Cease) ทำงานแล้ว
ในประการที่ 2 เนื่องจากมาตรวัดการตายของสมอง (Brain death) อาจไม่แม่นยำ (Inaccurate) มีการบันทึกในหลายกรณีที่ผู้ป่วยซึ่งสมควร (Supposed) อยู่ในสภาวะสมองตายเพราะถูกถอดเครื่องช่วยหายใจไปแล้ว แต่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะผัก (Vegetative state)
ดังนั้น คำว่า “ตายสนิท” (Complete death) หรือที่มักเรียกกันว่า “การตายทางร่างกาย” (Somatic death) จึงเกิดขึ้นไม่เพียงหัวใจ ปอด และสมอง หยุดทำงานเท่านั้น แต่เซลล์ในส่วนที่เหลือของร่างกายหยุดกิจกรรม เมื่อปราศจากออกซิเจน (Oxygen) และสารโภชนาการ (Nutrition)
ผู้ที่ตายทางการแพทย์ (Clinical death) อาจได้รับการฟื้นคืนชีพ แล้วมีชีวิตอยู่ต่อโดยปราศจากรเครื่องช่วยเทียม (Artificial assistance) ก็สามารถถกเถียงได้ว่า ยังมีชีวิตอยู่จริง แต่ถ้าผู้ที่สมองตาย (Brain death) แต่ร่างกายเท่านั้น (Solely) ยังมีชีวิตอยู่ โดยอาศัยสิ่งเทียม อาทิ เครื่องช่วยหายใจ (Respiratory) เราจะถกเถียงกันอย่างไร?
ถ้าไม่มีการแทรกแซง (Intervention) ร่างกายของคน ผู้นั้นย่อมตายไปแล้ว (Biological death) นอกจากนี้ เราเกือบแน่ใจ (Almost certain) ได้ว่า คนผู้นั้นย่อมไร้สติลึก (Deep unconscious) และไม่สามารถ (Incapable) รับรู้กระบวนการในระดับสูง เขาจึงไม่สามารถชื่นชมสถานะ (Status) ของคนมีชีวิตอยู่
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ถกเถียงกันว่า มาตรวัดของสมองตายนั้น ไม่แม่นยำ และว่าทำไมสมองควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นระบบหลัก (Primary) ของร่างกาย ซึ่งโดยเนื้อแท้ (In essence) แล้วสามารถแทน (Represent) ร่างกายทั้งหมด (Whole body)?
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Deathhttps://en.wikipedia.org/wiki/Death[2020, October 6].